
มาตรฐาน FAMI-QS (FAMI-QS STANDARD)
13/10/2010
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010
มาตรฐาน FAMI-QS (FAMI-QS STANDARD)
13/10/2010
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010การควบคุมหนูทางการเกษตร (RODENT CONTROL FOR AGRICULTURE)
"หนู" สัตว์ฟันแทะชนิดนี้เกษตรกรทุกท่านคงทราบกันดีว่าเป็นศัตรูพืชสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งและเป็นศัตรูที่ร้ายกาจมากกว่าโรคและ แมลง เนื่องจากโรคและแมลงเมื่อเข้าทำลายพืชจะเริ่มเห็นอาการหรือร่องรอยก่อนเพียงเล็กน้อย และสามารถทำการแก้ไขได้ทันท่วงที แต่การทำลายพืชจากหนูส่วนใหญ่ผลผลิตจะเกิดการเสียหายโดยทันที ไม่ทันได้ป้องกันหรือแก้ไข เช่น ในนาข้าว ส่วนใหญ่หนูจะเข้ามาทำลายข้าวในระยะที่ข้าวตั้งท้องหรือออกรวง ถ้าเป็นหนูตัวใหญ่ เช่น หนูพุกหรือหนูท้องขาว จะกัดโคนต้นข้าวเป็นลักษณะรูปปากฉลาม ให้ต้นข้าวล้มแล้วก็กินเมล็ดข้าว ส่วนหนูตัวเล็ก เช่น หนูหริ่ง ก็จะปีนต้นข้าวเพื่อขึ้นไปกัดกินเมล็ดข้าวหรือคอรวงข้าวทำให้เกิดความเสียหาย ในสวนปาล์มก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรก็จะพบว่าหนูมักเข้ามากัดกินต้นกล้าและทะลายปาล์มทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งระยะที่หนูเข้าทำลายนี้เกษตรกรไม่อาจทำการแก้ไขได้ทันถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมและป้องกันมาก่อน ฉบับนี้จะกล่าวถึงวิธีการกำจัดหนูสำหรับเกษตรกรทุกท่านไปประยุกต์ใช้
หนูเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างฉลาด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีการแพร่พันธุ์ที่รวดเร็ว การกำจัดหนูให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพต้องนำวิธีการกำจัดหลาย ๆ วิธีมาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่าการบูรณาการ
เริ่มต้นจากการสำรวจการแพร่ระบาดของหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด เป็นหนูชนิดใด ร่องรอยของหนูที่สามารถสำรวจพบ ได้แก่ รอยกัดแทะ โพรงหรือรูหนู รอยทางเดิน มูลหนู รอยเมือก กลิ่นสาบ เป็นต้น หลังจากการสำรวจต้องวางแผนว่าจะใช้วิธีกำจัดวิธีใดบ้างจุดไหนบ้าง กับดักสำหรับจับหนูก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบจับเป็นและจับตาย แบบธรรมดาที่รู้จักกันดี เช่น กรงดักหนู แร้วดักหนู กับดักแบบตีตาย เป็นต้น ส่วนการใช้เหยื่อพิษกำจัดหนูก็ต้องเลือกชนิดและรูปแบบให้เหมาะสม เช่น ถ้าสำรวจพบหนูปริมาณมาก ต้องกำจัดหนูอย่างเร่งด่วน ควรใช้เหยื่อที่มีประสิทธิภาพสูง เห็นผลเร็ว ในอดีต ซิงค์ ฟอสไฟด์ หรือยาดำ เป็นสารเคมีกำจัดหนูที่นิยมใช้ในหมู่เกษตรกร แต่สารเคมีชนิดนี้มีความเป็นพิษและเป็นอันตรายสูงมาก หากมนุษย์หรือสัตว์อื่นได้รับเข้าไป และที่สำคัญที่สุดไม่มียาสำหรับแก้พิษ
โดยทางสำนักคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อ.ย. และกรมปศุสัตว์ ได้ออก พ.ร.บ. ห้ามใช้สารเคมีชนิดนี้ในทางบ้านเรือนและปศุสัตว์แล้ว ส่วนเหยื่อพิษกำจัดหนูที่มีความเป็นอันตรายต่ำกว่า แต่ประสิทธิภาพสูงมีที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ โบรไดฟาคุม (Brodifacoum 0.005%W/W) และโบรมาดิโอโลน (Bromadiolone 0.005%W/W) ซึ่งเป็นเหยื่อพิษกำจัดหนูที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการแข็งตัวของเลือดรุ่นที่ 2 ซึ่งพัฒนามาจากรุ่นที่ 1 เช่น สารวาฟาริน (Warfarin) ที่ปัจจุบันมีรายงานการดื้อยาของหนูแล้ว และการเลือกเหยื่อกำจัดหนูสำหรับใช้ในทางการเกษตร ควรเลือกเหยื่อที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศ โดยดูจากส่วนผสมของเหยื่อที่มีขี้ผึ้งหรือแวกซ์ผสมอยู่ด้วย โดยขี้ผึ้งหรือแวกซ์นี้จะช่วยให้เหยื่อคงความน่ากิน สามารถดึงดูดหนูได้ยาวนานกว่า และทำให้ทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังต้องมีส่วนผสมที่ดึงดูดและน่ากินผสมอยู่ด้วย ลักษณะของเหยื่อก็มีสำคัญ
การจะกำจัดหนูในโพรงหรือในรูหนูควรใช้เหยื่อที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กหยอดเข้าไปในโพรงประมาณ 10-20 กรัมต่อโพรงแล้วทำการกลบโพรงให้สนิท เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าโพรงนี้มีการใช้งานอยู่หรือไม่ ถ้าหนูไม่ได้ใช้งานโพรงจะไม่มีการเปิดออก ส่วนเหยื่อแบบก้อนเหมาะสำหรับใช้วางรอบบริเวณแปลงปลูกมากกว่า และควรเลือกเหยื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าหนูมีการกัดกินหรือไม่ โดยเหยื่อต้องมีรูสำหรับร้อยกับอุปกรณ์หรือลวดให้ยึดติดอยู่กับที่ หนูไม่สามารถลากไปกินที่อื่นได้ จะได้เป็นการบันทึกว่ายังพบหนูในแปลงปลูกอยู่ สำหรับการวางเหยื่อในพื้นที่ปลูก ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราปลูกพืชชนิดใด ถ้าปลูกพืชเป็นสวนแบบไม่ยกร่อง ให้วางเหยื่อหนูเต็มทั่วพื้นที่ ห่างกันจุดละแระมาณ 20-25 เมตร แต่ถ้าเป็นสวนแบบยกร่อง ให้วางเหยื่อรอบพื้นที่สวน และในร่องสวนทุกร่อง ห่างกันจุดละ 20-25 เมตร ส่วนนาข้าว ให้วางเหยื่อรอบบริเวณคันนา ห่างกันจุดละ 20-25 เมตร ทั้งนี้การกำจัดหนูควรใช้ทั้งเหยื่อพิษกำจัดหนูและกับดักควบคู่กันไป เพื่อการกำจัดหนูที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เหยื่อกำจัดหนูผสมสารออกฤทธิ์ Brodifacoum 0.005%w/w (ไฟนอล บล็อกซ์และไฟนอล โรเด็นทิไซด์) และ Bromadiolone 0.005%w/w (คอนแทรค บล็อกซ์และคอนแทรค โรเด็นทิไซด์)
เหยื่อกำจัดหนูแบบก้อนผสมขี้ผึ้งหรือแวกซ์ทำให้ทนต่อสภาพอากาศ และมีรูสำหรับร้อยยึดติดกับอุปกรณ์วางเหยื่อ (ไฟนอล บล็อกซ์และคอนแทรค บล็อกซ์)
ผลิตโดยบริษัท BELL LABORATORIES, INC.
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาระบบการกำจัดหนูได้ที่ โทร. 02-9644912-4 แฟกซ์. 02-9644915