(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
เต็มประสิทธิภาพ ด้วยกลูตาราลดีไฮด์แท้
15/08/2013
LIVESTOCK ASIA EXPO & FORUM 2013
24/08/2013
เต็มประสิทธิภาพ ด้วยกลูตาราลดีไฮด์แท้
15/08/2013
LIVESTOCK ASIA EXPO & FORUM 2013
24/08/2013
 

ความเป็นพิษของเหยื่อกำจัดหนู ชนิดต้านการแข็งตัวของเลือด

002

กลไกการออกฤทธิ์ของเหยื่อกำจัดหนู ชนิดต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนี้

ปกติภายในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีโอกาสที่จะเกิดบาดแผลหรือการฉีกขาดของหลอดเลือดโดยเฉพาะเส้นเลือดฝอยได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รอยแตกของเส้นเลือดฝอย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับรูเข็ม ก็สามารถทำให้เลือดไหลออกมานอกเส้นเลือดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายสัตว์ก็มีกระบวนการซ่อมแซมเส้นเลือดที่เกิดบาดแผลได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกระบวนการแข็งตัวอย่างเลือด ซึ่งเป็นระบบที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด เกล็ดเลือด และการสร้างลิ่มเลือด

เมื่อเกิดบาดแผล หลอดเลือดจะหดตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อจำกัดไม่ให้เกิดการสูญเสียเลือดเพิ่มมากขึ้น จากนั้นเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือดจะสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างลิ่มเลือด ได้แก่ กระตุ้นให้เกล็ดเลือดมาเกาะกลุ่มกันบริเวณบาดแผล เรียกว่า กลไกการห้ามเลือดปฐมภูมิ และกระตุ้นให้โปรตีนมารวมตัวกันเกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือด และเกิดไฟบรินที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกลุ่มของเกล็ดเลือด เรียกว่า กลไกการห้ามเลือดทุติยภูมิ และด้วยกระบวนการแข็งตัวของเลือดหรือการเกิดลิ่มเลือดนี้เอง จำเป็นต้องอาศัยหลายแฟกเตอร์ (clotting factors) เช่น สารตั้งต้นของโพรทรอมบิน (prothrombin precursor) เป็นต้น แต่สารตั้งต้นของโพรทรอมบินนี้ รวมถึงแฟกเตอร์ชนิดอื่นๆ เมื่อถูกสร้างขึ้นมาแล้วจะยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ (non-active) จนกว่าจะได้รับการเติมหมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group) ตรงตำแหน่งของกรดอะมิโนกลูตามิก โดยปฏิกิริยาดังกล่าวต้องอาศัยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และวิตามินเคในรูปที่ถูกกระตุ้นแล้ว (reduced form) เพื่อเปลี่ยนรูปเป็นโพรทรอมบิน (prothrombin) ที่สามารถออกฤทธิ์ได้ (active) และเข้าสู่กระบวนการแข็งตัวของเลือดต่อไป ความเร็วของปฏิริยา (Prothrombin time) ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น หนู Prothrombin time = 26.7 ± 0.4 วินาที และสุนัข Prothrombin time 10 วินาที เป็นต้น

   เหยื่อชนิดต้านการแข็งตัวของเลือด จะเข้าขัดขวางการทำปฏิกิริยาการย้อนกลับของวิตามินเค (recycling) ไม่ให้สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของวิตามินเคในรูปที่ยังไม่ถูกกระตุ้น (oxidized Vitamin K) ให้เป็นวิตามินเคในรูปที่ถูกกระตุ้นแล้ว (reduced form) ทำให้วิตามินเคที่ถูกกระตุ้นแล้วไม่สามารถเข้าเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการแข็งตัวของเลือดได้ ดังนั้นบาดแผลเล็กๆ ของเส้นเลือดฝอยไม่ถูกซ่อมแซม เป็นเหตุให้เลือดไหลออกมานอกเส้นเลือด และทำให้หนูตายด้วยวิการเลือดคั่งในช่องท้อง (Internal Hemorrhaging) แต่อย่างไรก็ตาม หนูจะไม่ตายในทันทีที่ได้รับเหยื่อพิษ เนื่องจากในร่างกายของหนู ยังคงสามารถใช้ วิตามินเคในรูปที่ถูกกระตุ้นแล้ว และโพรทรอมบิน (prothrombin) ที่สามารถออกฤทธิ์ได้ที่มีสะสมในร่างกายอยู่จนกว่าจะหมดลง ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้

003

ความเป็นพิษของเหยื่อกำจัดหนู ชนิดต้านการแข็งตัวของเลือดต่อสัตว์ชนิดอื่นๆ

   ความเป็นพิษหรือความรุนแรงของสารเคมีของเหยื่อกำจัดหนู จะใช้ค่า LD50 (Lethal dose 50%) เป็นหน่วยเปรียบเทียบ ค่า LD50 คือ จำนวนสารเคมีบริสุทธิ์ 100% (หน่วยเป็นมิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักหนูทดลอง) ซึ่งมีผลทำให้หนูทดลอง 100 ตัว มีโอกาสตายประมาณ 50 ตัว เมื่อป้อนสารเคมีชนิดนั้นเข้าทางปาก
   แต่สำหรับเหยื่อกำจัดหนูสำเร็จรูป มักไม่ใช่สารเคมีบริสุทธิ์ หรือสารชนิดนั้นๆ 100% แต่จะถูกนำมาเจือจาง โดยผสมน้ำหรือสารอื่นๆ เช่น Brodifacoum 0.005 %W/W หมายถึง เหยื่อ 1 กิโลกรัม มี Brodifacoum เป็นองค์ประกอบ 50 มิลลิกรัม เป็นต้น

สารออกฤทธิ์           Brodifacoum 0.005 %W/W Bromadiolone 0.005 %W/W
LD50 (มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม)
สุนัข 0.25 - 3.6 > 10
แมว 0.25 > 25
สุกร 0.28 > 25
ปริมาณการกินเหยื่อพิษของสัตว์แต่ละชนิดที่ก่อให้เกิดอันตราย (กรัมของเหยื่อ/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม)
สุนัข 5.0 - 72 กรัม 199.92 กรัม
แมว 5.0 กรัม 500.08 กรัม
สุกร 5.6 กรัม 500.08 กรัม
 หมายเหตุ: สำหรับช่วงค่า LD50 ของ BRODIFACOUM ในสุนัข ที่มีช่วงความเป็นพิษค่อนข้างกว้างนั้น อาจเนื่องมาจากอายุและสายพันธุ์ของสุนัข แต่จากงานทดลอง โดยการเลี้ยงสุนัขคละอายุและสายพันธุ์ ผลการทดลองได้ค่า LD50 = 3.56 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม

 

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากสัตว์เลี้ยงกินเหยื่อพิษกำจัดหนู

   สัตว์จะแสดงอาการความผิดปกติต่างๆ ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่ได้รับเหยื่อพิษ เช่น ซึม ไม่กินอาหาร ไอเป็นเลือด มีเลือดไหลออกตามทวารต่างๆ เป็นต้น
วิธีการรักษาเบื้องต้น คือ การรีบพาไปพบสัตวแพทย์ ซึ่ง สัตวแพทย์จะฉีด Vitamin K (IM) ปริมาณสำหรับสุนัข ที่ 2 mg/kgBW หรือให้กิน vitamin K ชนิดเม็ด รักษาติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์

           หมายเหตุ: สำหรับช่วงค่า LD50 ของ BRODIFACOUM ในสุนัข ที่มีช่วงความเป็นพิษค่อนข้างกว้างนั้น อาจเนื่องมาจากอายุและสายพันธุ์ของสุนัข แต่จากงานทดลอง โดยการเลี้ยงสุนัขคละอายุและสายพันธุ์ ผลการทดลอง               ได้ค่า LD50 = 3.56 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากสัตว์เลี้ยงกินเหยื่อพิษกำจัดหนู

   สัตว์จะแสดงอาการความผิดปกติต่างๆ ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่ได้รับเหยื่อพิษ เช่น ซึม ไม่กินอาหาร ไอเป็นเลือด มีเลือดไหลออกตามทวารต่างๆ เป็นต้น
วิธีการรักษาเบื้องต้น คือ การรีบพาไปพบสัตวแพทย์ ซึ่ง สัตวแพทย์จะฉีด Vitamin K (IM) ปริมาณสำหรับสุนัข ที่ 2 mg/kgBW หรือให้กิน vitamin K ชนิดเม็ด รักษาติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์