(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
VIV ASIA 2013
28/05/2013
มาตรฐานโรงงานกำหนดคุณภาพของยา
15/08/2013
VIV ASIA 2013
28/05/2013
มาตรฐานโรงงานกำหนดคุณภาพของยา
15/08/2013
 

จัดการหนูอย่างได้ผลต้องเริ่มต้นจากรู้จักหนู

001-1

  มักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง ว่าจัดการหนูอย่างได้ผล ต้องทำแบบบูรณาการ...บูรณาการ หรือ INTEGRATED PEST MANAGEMENT (IPM) คือ การวางแผนควบคุม ป้องกันและกำจัดหนู โดยผสมผสานเทคนิคการจัดการหลายวิธีเข้าด้วยกันอย่างมีหลักการ และสิ่งที่สำคัญต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจในระบบนิเวศน์ของหนู เพื่อลดจำนวนหนูในพื้นที่ลง, ป้องกันหนูจากภายนอกไม่ให้เข้ามาเข้ามา และการตรวจดูแลรักษาสภาพ การเฝ้าระวังและตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดและปลอดภัย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้การจัดการหนู อย่างได้ผล เราต้องเริ่มมาทำความเข้าใจกับชีววิทยาและธรรมชาติของหนูก่อน

ชีววิทยา และระบบประสาทสัมผัส
ระบบประสาทสัมผัส-การมองเห็น

    หนูมีระบบประสาทสัมผัส ด้านการมองเห็นเป็นภาพขาว-ดำ และไม่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ภาพซ้ายมือ เป็นภาพดอกบัวสีชมพูสวยงามที่คนปกติมองเห็น แต่สำหรับหนูแล้ว กลับมองเห็นเป็นภาพดอกบัวเป็นสีขาว-ดำ มัวๆ ไม่ชัดเจน คล้ายกับคนตาบอดสี ดังเช่นในภาพด้านขวามือ ดังนั้นการเคลื่อนที่ของหนู จะไม่ใช้ระบบปราสาทสัมผัส ด้านการมองเห็นด้วยตา ดังนั้นสีของเหยื่อพิษ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จะไม่ได้มีผลต่อหนู แต่การทำเหยื่อพิษให้มีสีสันสดใสต่างๆ เช่น น้ำเงิน ฟ้า หรือแดงนั้น เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่าเป็นเหยื่อพิษ และไม่ใช่อาหาร เท่านั้นเอง

rat

ระบบประสาทสัมผัส-การสัมผัส

เนื่องจากหนูมีระบบประสาทด้านการมองเห็นด้วยตาไม่ดีนัก ดังนั้นหนูจึงใช้ขน ซึ่งส่วนมากอยู่บริเวณใบหน้าและบนลำตัวในการคลำทาง เฉลี่ยแล้วหนูใช้ขนในการคลำทางประมาณ 8 – 12 ครั้งต่อวินาที ขึ้นกับชนิดของหนู การคลำทางของหนูจะแสดงออกมาเป็นภาพ 3 มิติในสมองของหนู ดังนั้นเวลาการเดินทาง หนูมักจะเดินหรือวิ่งชิดแนวกำแพง และมักจะเดินทางในเส้นทางเดิมๆ ดังนั้นการสำรวจร่องรอยของหนู หรือการวางอุปกรณ์กำจัดหนู ต้องสังเกตหรือวางอุปกรณ์ชิดแนวผนังกำแพงเป็นหลัก

ระบบประสาทสัมผัส-การได้ยินเสียง

การได้ยินเสียงของหนู เป็นจุดๆไม่ดีนัก และได้ยินเสียงในช่วงเสียง Sonic และ Ultra sonic

003

ระบบประสาทสัมผัส-การรับรส

    ระบบประสาทสัมผัส ด้านการรับรส ถือได้ว่าเป็นระบบประสาทที่ดีที่สุดของหนู หนูสามารถรับรสได้ถึง 250 ส่วนในพันล้านส่วน (ppm) และสิ่งสำคัญที่ทำให้การจัดการหนูยากขึ้น นั้นก็คือ หนูสามารถจดจำและสื่อสารถึงรสชาดที่เคยได้กินให้กับหนูตัวอื่นๆ ในฝูงได้ ดังนั้น กรณีการใช้เหยื่อพิษชนิด สารออกฤทธิ์ประเภทออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เฉียบพลันทันที เช่น ยาดำ หรือ Zinc Phosphide หากหนูได้รับในปริมาณน้อยเกินไป หรือไม่ครบโด๊ส ทำให้หนูไม่ตาย และหนูจะสามารถจดจำลักษณะต่างๆ ของเหยื่อ ได้แก่ รูปแบบ สี รวมถึง กลิ่น และรสชาด จากนั้นหนูจะสื่อสารให้กับหนูตัวอื่นๆ ในฝูงทำให้เกิดปัญหาว่าหนูมัก “เข็ดขยาดเหยื่อ” นั้นเอง นอกจากนี้ หนูยังสามารถถ่ายทอดรสชาดที่ชอบ หรือ ไม่ชอบ จากแม่หนูสู่ลูกหนูได้ โดยผ่านทางน้ำนมแม่ ซึ่งจะทำให้ลูกหนูเมื่อโตขึ้นจะชอบกินอาหารเหมือนกับแม่ ดังนั้นหากแม่หนู อาศัยอยู่ในโรงสีข้าว แม่หนูชอบกินข้าวสาร ลูกหนูจะได้รับการถ่ายทอดความชอบจากแม่ผ่านน้ำนม เมื่อลูกหนูโตขึ้นก็จะกินข้าวสารเหมือนแม่ต่อไป จะเห็นได้ว่าหนูเป็นสัตว์ที่ลูกดก หากปล่อยให้หนูวัยเจริญพันธุ์เพศผู้-เมียอยู่ร่วมกัน 1ปี หนูจะสามารถเกิดลูกได้มากถึง 112 ตัว ซึ่งฝูงนี้จะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้มากกว่า 1,000 ตัวในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นหนูจะสร้างความเสียหายให้กับเราได้อย่างมหาศาล หากไม่รีบจัดการอย่างถูกวิธี

004

ธรรมชาติของหนู

    เมื่อเราทราบระบบประสาทสัมผัสต่างๆ ของหนูแล้ว สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีก นั้นก็คือ ธรรมชาติของหนู ได้แก่

หนู สัตว์ฟันแทะ

    หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีฟันแทะคู่หน้า 2 คู่ ทั้งกรามบนและกรามล่าง และฟันแทะของหนูมีความพิเศษ คือ สามารถเจริญยาวได้ตลอดช่วงชีวิตของหนู ทำให้หนูมีนิสัยของกัดแทะ เพื่อทำให้ฟันมีความยาวพอดีและคมอยู่เสมอ เนื่องจากผิวด้านหน้าของฟันมีสารเคลือบฟันที่แข็งแรงมาก ส่วนด้านหลังในส่วนของเนื้อฟันจะมีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้นการที่หนูกัดแทะสิ่งต่างๆ ทำให้เนื้อฟัน ซึ่งแข็งแรงน้อยกว่าผิวด้านหน้าสึกกร่อนได้ง่ายกว่า ทำให้ฟันแทะของหนูมีลักษณะคล้ายจอบและคมเป็นพิเศษ อีกทั้งมีความยาวที่พอเหมาะสำหรับใช้ในการกินอาหาร ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หนูไม่จำเป็นจะต้องกัดแทะเฉพาะอาหารเท่านั้น แต่หนูจะกัดแทะวัสดุทุกอย่างที่อยู่บริเวณทางเดินของมัน

004

หนูชอบหากินตอนกลางคืน
หนูส่วนมากจะหากินช่วงเวลากลางคืน เพื่อเป็นการป้องกันตัวจากศัตรูต่างๆ ซึ่งไม่มีกิจกรรมช่วงกลางคืน ดังนั้นหากพบหนูช่วงเวลากลางวัน แสดงว่าในบริเวณนั้นเกิดการรบกวนจากหนูอย่างรุนแรงมาก หนูมีการเพิ่มประชากรมากขึ้น และปริมาณอาหารไม่เพียงพอ หนูจึงจำเป็นต้องออกมาหาอาหารในช่วงเวลากลางวันให้เราได้พบเห็นกันนั้นเอง

005

หนู...ปีนเก่ง
หนูมีฝ่าเท้าที่หนาและนิ้วที่ยาว จึงทำให้หนูสามารถปีนไต่ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่อย่างไรก็ตาม หนูนอร์เว จะสามารถปีนไต่ได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งป้องกันหรือบังบริเวณหลังของมัน นอกจากนี้ หนูยังสามารถกระโดดขึ้นในแนวดิ่งสูงจากพื้นได้ถึง 2 ฟุต, สามารถวิ่งแนวราบและกระโดดได้ไกลเฉลี่ย 3.5 ฟุต และหนูยังสามารถตกจากที่สูงและกลิ้งได้ถึง 5 รอบโดยไม่เกิดอันตรายเลย ดังนั้นการสำรวจร่องรอยของหนู รวมถึงการวางอุปกรณ์กำจัดหนู ต้องทำอย่างครอบคลุม ทั้งแนบราบ ผนัง และเพดาน หรือครอบคลุมทั้ง 360 องศานั้นเอง

การสร้างรัง
หนูมักสร้างรัง และทำความสะอาดตัว บริเวณมุมห้อง ดังนั้นการสำรวจร่องรอยของหนู บริเวณที่ต้องสังเกตเป็นพิเศษ นั้นก็คือบริเวณมุมห้องนั้นเอง

007

นิสัยการกินอาหาร
หนูขนาดใหญ่ (น้ำหนักตัว 250 กรัม) จะกินอาหาร 28 กรัม/ตัว/วัน และสำหรับหนูขนาดเล็ก (น้ำหนักตัว 25 กรัม) หนูจะกินอาหาร 3 กรัม/ตัว/วัน และหนูมักจะกินอาหารตุนไว้ให้เพียงพอสำหรับ 1 สัปดาห์ เพื่อไม่ต้องออกหาอาหารบ่อยๆ เป็นการลดความเสี่ยงจากศัตรูต่างๆ นอกจากนี้หนูมักจะคาบอาหารที่มีขนาดพอดีคำกลับไปกินในที่ที่มันรู้สึกว่าปลอดภัย ซึ่งส่วนใหญ่คือที่รังของมัน และหนูมักจะกินอาหารได้ปริมาณมากในบริเวณที่มันรู้สึกสบายและปลอดภัย เช่น มีสิ่งกำบังหลังของมัน และค่อนข้างมืด ดังนั้น การวางเหยื่อในกล่องวางเหยื่อ นอกจากจะช่วยคงความสดใหม่และความน่ากินให้กับเหยื่อพิษแล้ว ยังช่วยให้หนูกินเหยื่อพิษได้ในปริมาณมากอีกด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากหนูเป็นสัตว์ฟันแทะ มันจึงมีนิสัยชอบใช้มือทั้ง 2 ข้างจับอาหารและใช้ฟันกัดแทะอาหาร ดังนั้นก้อนเหยื่อที่มีเหลี่ยม มีมุม จึงเหมาะสำหรับพฤติกรรมการกินของหนู

008

แนวการเดินทางเพื่อหาอาหารของหนู
แนวการเดินทางเพื่อหาอาหาร ขึ้นอยู่กับชนิดของหนู เช่น หนูจี๊ด มีแนวทางเดิน 10 เมตร หนูนอร์เว มีแนวทางเดิน 30 เมตร และหนูท้องขาว มีแนวทางเดิน 90 เมตร ในขั้นตอนการสำรวจหากพบร่องรอยของหนูท้องขาว ในบริเวณใดๆ จะสามารถคาดการณ์ได้ว่า รังของหนูท้องขาว อาจอยู่ภายในรัศมี 90 เมตรนับจากจุดที่พบร่องรอยของหนูท้องขาวนั้น ดังนั้นการวางอุปกรณ์กำจัดหนู ต้องวางให้ครอบคลุมกับแนวทางเดินของหนู

009

หนูว่ายน้ำได้
หนูมีความสามารถในการว่ายน้ำได้นานถึง 72 ชั่วโมง และสามารถดำน้ำได้นานถึง 30 วินาที ดังนั้น คลองเล็กๆ ที่ขุดไว้รอบบริเวณที่เราต้องการควบคุมหนูนั้น ไม่สามารถใช้ควบคุมหนูได้เลย รวมทั้งท่อระบายน้ำต่างๆ ก็สามารถใช้เป็นเส้นทางเดินของหนูจากภายนอกเข้ามาภายในตัวอาคารได้ ดังนั้นต้องปิดท่อระบายน้ำต่างๆ ด้วยตาข่ายให้มิดชิด รวมทั้งควรสำรวจโครงสร้างของอาคารว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่ หากพบรอยแตกร้าว ต้องรีบจัดการซ่อมแทรมให้เรียบร้อยเนื่องจากรอยแตกร้าวเล็กๆ เท่าหัวนิ้วโป้ง หนูก็สามารถลอดหัวของมันและหดตัวลอดเข้ามาภายในตัวอาคารได้

010

หนูกลัวสิ่งใหม่ๆ
หนูมักกลัวสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เช่น การใช้คลื่นสัญญาณไฟฟ้าไล่หนู อุปกรณ์นี้มักจะควบคุมหนูได้ในช่วงแรกๆ แต่เมื่อหนูรู้สึกชินแล้ว อุปกรณ์นี้จะใช้ไม่ได้อีก รวมถึงการใช้ไม้ไล่หนูก็เช่นกัน มักจะใช้ได้ผลในช่วงระยะแรกๆ เท่านั้น เนื่องจากหนูจะกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เมื่อหนูเกิดความเคยชินแล้ว ไม้ไล่หนูนี้ก็ใช้ไม่ได้ผล อีกทั้งหนูอาจจะคาบไม้ไล่หนูนั้น ไปทำรังของมันได้อีกด้วย

012

 

      เมื่อเราทราบระบบนิเวศน์และธรรมชาติของหนูแล้ว เราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการสำรวจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกและมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับการป้องกันและกำจัดหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนู ในบริเวณนั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการวางแผนการกำจัดหนูได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

012

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาระบบการกำจัดหนูได้ที่ บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด
333/12-13 หมู่ 9 ถ.บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
WWW.BICCHEMICAL.COM โทร. 02-9644912-14 แฟกซ์. 02-9644915
บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ และเหยื่อกำจัดหนู จาก BELL LABORATORIES, INC. (USA)