การใช้ยาต้านจุลชีพ หมายถึงการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะและยาที่สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ไปทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ปัจจุบันยามีมากมายหลายกลุ่ม อีกทั้งยังมีการผลิตยตำรับใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ยาที่ผลิตขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนามาจากตัวยาแม่บท หรือยาบางตัวอาจมีการสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่เลย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเพื่อรักษาโรคควรใช้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีกว่าและสิ้นเปลืองค่าใช้ที่จ่ายน้อยลง
การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อมี 2 ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึง
ความไวของเชื้อและระดับยาในร่างกาย นั่นคือ กระบวนการดูดซึม การกระจายตัวและการกำจัดออกนอกร่างกาย
ข้อที่สอง คือ อันตรายหรือฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ของยาที่มีต่อร่างกาย
หลักการพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ ต้องรู้ความไวของเชื้อแบคทีเรียต่อยาต้านจุลชีพ
ความไวของเชื้อดูได้จากผลการใช้ว่ายารักษาหายหรือไม่หายอย่างไร ค่าความไวของเชื้อต่อยาแต่ละชนิดหาได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยไม่มีปัจจัยเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งการรักษาให้ได้ผลดีนั้น ปริมาณของยาในบริเวณหรือตำแหน่งที่มีการติดเชื้อจะต้องมีปริมาณที่สูงพอที่จะฆ่าทำลายเชื้อหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมที่ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อให้หมดได้ หรือปริมาณยาในเลือดหรือเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ จะต้องมีปริมาณที่สูงกว่าค่า Minimum inhibition concentration (MIC)
ค่า MIC คือ ค่าความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย เป็นค่าที่นิยมใช้บ่งบอกถึงความไวของเชื้อที่มีต่อยาและเป็นค่าที่ใช้ประกอบการพิจารณาถึงขนาดของยาต้านจุลชีพแต่ละชนิด
ถ้าเชื้อมีความไวต่อยา หมายความว่า ค่า MIC ของเชื้อนั้นต้องต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของระดับยาในเลือดหรือต่ำกว่า ¼ ของระดับสูงสุดของยาในเลือด การทดสอบความไวของเชื้อที่นิยมใช้ในการทดสอบทางสัตวศาสตร์ มี 2 วิธี คือ Dilution test และ Agar disk diffusion test
Dilution test: เป็นวิธีการหาความเข้มข้นต่ำสุดของยา Minimum inhibition concentration (MIC) ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพ หาได้จากการเจือจางยาให้มีความเข้มข้นต่างกันใส่ลงไปสัมผัสกับเชื้อที่กำลังเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดเหลว (ในหลอดทดลอง)
Agar disk diffusion test: ทดสอบโดยการวางแผ่นกระดาษกรองมาตรฐานที่อิ่มตัวด้วยสารละลายยาขนาดต่างๆ วางบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่ได้ผสมเชื้อที่ต้องการทดสอบ ทำการบ่มเพาะเป็นเวลา 18 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียล ซึ่งเป็นการตรวจกรองฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลชีพของยาเบื้องต้น ซึ่งบอกผลในเชิงคุณภาพว่าเชื้อมีความไวต่อการทดสอบหรือไม่ โดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางจากบริเวณโซนใสของการยับยั้ง (clear zone inhibition)
ความล้มเหลวของการใช้ยาเกิดขึ้นได้หรือไม่ ?
บ่อยครั้งที่พบว่าการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อนั้นไม่ได้ผล โดยที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อดื้อยา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัย ดังนี้
1.ปัญหาทางเภสัชวิทยา เช่นเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกันของยาในร่างกาย หรือยาที่ใช้เกิดความเสื่อมฤทธิ์ เนื่องจากเกืดความไม่เข้ากันของยากับน้ำในร่างกาย
2.การวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง
3.ปริมาณหรือขนาดการให้ยา และความถี่การให้ยา ตลอดจนวิธีการให้ยาไม่ถูกต้อง
4.เชื้อดื้อยา
5.ยาเกิดปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์กัน ในกรณีที่ใช้ยาหลายตัวร่วมกัน
ขนาดการใช้ยาที่ถูกต้องสำคัญอย่างไร?
ในการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อให้ได้ผลได้ดีนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่ระดับของยาในร่างกายจะต้องอยู่ในระดับที่จะให้ผลการรักษา และระดับของยาจะต้องคงอยู่ตลอดระยะเวลาการใช้ยา เรียกระดับของยาในเลือด คือ Minimum effective concentration (MEC) ซึ่งเป็นระดับของยาที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อ และเป็นระดับที่มีความปลอดภัยต่อสัตว์ ดังแสดงในกราฟที่ 1 ซึ่งยาต้านจุลชีพจะคงอยู่ในระดับที่ร่างกายสัตว์ต้องการหรือรักษารักษาโรคได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของยา และความถี่การใช้ยา ของยาต้านจุลชีพนั้นๆ และชนิดของสัตว์
ที่มา: MEHROTRA ET AL. (2006)
C MAX: = ระดับความเข้มข้นสูงสุดของยาในพลาสมา มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร
T MAX: = เวลาสูงสุดของค่า CMAX มีหน่วยเป็นชั่วโมง
AUC = พื้นที่ใต้กราฟ (AREA UNDER THE CURVE) ระหว่างความเข้มข้นของยาในน้้าเลือดและเวลา มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมชั่วโมงต่อลิตร
ขนาดการให้ยา มีความสำคัญต่อระดับของยาในเลือด ถ้าหากให้ยาขนาดต่ำเกินไปมีผลทำให้ระดับยาในเลือดอยู่ในระดับที่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อได้ ทำให้การรักษาโรคนั้นไม่ได้ผล หรือถ้าหากใช้ยาในขนาดที่สูงเกินขนาด นอกจากจะเกิดประโยชน์ในด้านให้ผลการรักษายังเกิดอันตรายต่อร่างกายสัตว์ได้ ขนาดการใช้ยาที่ถูกต้อง แม่นยำ รู้ได้อย่างไร
ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ยา MOXYGUARD SP
ส่วนประกอบ: 1 กิโลกรัม ประกอบด้วย Amoxicillin trihydrate 800 กรัม เทียบเท่ากับ Amoxicillin 697 กรัม
ขนาดและวิธีการใช้ยา:
ไก่: ขนาดการให้ยา Amoxicillin base 8-16 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน หรือต้องใช้ผลิตภัณฑ์ยา MOXYGUARD SP 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องใช้ปริมาณยา หรือปริมาณน้ำที่ใช้ละลาย และจำนวนสัตว์ที่ต้องได้รับยาเท่าไร
- เราจะต้องรู้ความต้องการของยาในสัตว์แต่ช่วงอายุ เพราะถ้าเราคำนวณการใช้ยาโดยดูจากค่ามาตรฐานของปริมาณน้ำที่สัตว์กินนั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะสัตว์ที่อายุน้อยอาจจะได้รับยาในระดับที่มากเกินไป หรือระดับยาอาจจะไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคของสัตว์ที่อายุมาก
- ปริมาณการกินน้ำกินอาหารของสัตว์มีความผันแปรและมีอิทธิพลจากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สภาวะสัตว์ป่วย สภาพแวดล้อม รสชาติยา และน้ำหนักตัว เป็นต้น
ดังนั้นการคำนวณปริมาณยาที่สัตว์ต้องได้รับให้คิดจากน้ำหนักตัว ขนาดการใช้ยาที่สัตว์ต้องได้รับในแต่ละวัน และปริมาณน้ำหรืออาหารที่สัตว์กิน คำนวณได้จากสูตร ดังนี้
ปริมาณมิลลิกรัมยา/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ตามที่ระบุในฉลาก X น้ำหนักเฉลี่ยของสัตว์ (กิโลกรัม) =มก.ผลิตภัณฑ์ยา/ปริมาณน้ำ 1 ลิตร
หารค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำที่สัตว์ดื่มในแต่ละวัน (ลิตร)
ทำไมขนาดการใช้ยาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ?
1.ความสำเร็จในการรักษาโรคสัตว์ ขึ้นอยู่กับจำนวนของยาต่อความต้องการยาในแต่ละวัน
2.Recommended dosages มีความสัมพันธ์กับการออกฤทธ์ยับยั้งหรือฆ่าทำลายเชื้อแบคทีเรียนั้นได้
3.ขนาดที่ให้ยา และความถี่ของการให้ยา ต้องเพียงพอเพื่อให้ยามีความเข้มข้นในเลือดสูงพอที่จะให้ผลในการรักษาโรคได้
4.ช่วยป้องกันเชื้อดื้อยา
สรุป : การใช้ยาต้านจุลชีพให้ได้ผลการรักษาดีนั้น ต้องคำนึงถึง 3 ประการที่สำคัญ คือ เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรค ใช้ขนาดที่ถูกต้อง และความถี่ในการให้ยาต้องสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ให้ยา