(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
ทำอย่างไร เมื่อหนูเริ่มเข็ดขยาดเหยื่อ ต้นทุนการกำจัดหนูบานปลาย
07/03/2014
งานประชุมใหญ่สามัญของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประจำปี 2556
10/05/2014
ทำอย่างไร เมื่อหนูเริ่มเข็ดขยาดเหยื่อ ต้นทุนการกำจัดหนูบานปลาย
07/03/2014
งานประชุมใหญ่สามัญของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประจำปี 2556
10/05/2014
 

ทำไมต้องเสริมแร่ธาตุโครเมี่ยมในอาหารสัตว์ ?

  โครเมี่ยมเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย พบกระจายอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และยังช่วยในเรื่องของเมตาบอลิซึมของไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ กรดนิวคลีอิก รูปแบบของโครเมี่ยมที่ร่างกายต้องการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ รูปไตรวาเลนท์ (trivalent, Cr3+)

โดยปกติจะพบแร่ธาตุโครเมี่ยมในวัตถุดิบอาหารสัตว์อยู่แล้ว แต่สัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากว่า แร่ธาตุโครเมี่ยมที่พบในวัตถุดิบส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ Phytate หรือเยื่อใยที่ไม่ละลายน้ำ และจะถูกขับออกนอกร่างกายทำให้สูญเสียแร่ธาตุโครเมี่ยมถึง 85% ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมแร่ธาตุโครเมี่ยมในอาหารสัตว์

รูปแบบของแร่ธาตุโครเมี่ยมที่เสริมในอาหารสัตว์ คือ

1.แร่ธาตุโครเมี่ยมในรูปของอนินทรีย์ เช่น โครเมี่ยม คลอไรด์ จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยมากประมาณ 1-3 % และไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพซาก หรือองค์ประกอบที่อยู่ในเลือดของสุกร
2.แร่ธาตุโครเมี่ยมในรูปของอินทรีย์ เช่น โครเมี่ยม พิโคลิเนต จะส่งผลทำให้คุณภาพซากของสุกรดีขึ้น พร้อมทั้ง พรบ.อาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 ได้อนุญาตให้ใช้โครเมี่ยม พิโคลิเนต เป็นวัตถุที่เติมในอาหารประเภทสารปรับปรุงคุณภาพซากสัตว์ และให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์

001

รูปที่ 1 โครงสร้างโครเมี่ยม พิโคลิเนต

ความสำคัญของโครเมี่ยม

1.กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกายสัตว์
2.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และกลูโคส โทเลอแรนซ์ แฟคเตอร์ (glucose tolerance factor)
3.ช่วยลดปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol hormone)ในกระแสเลือดซึ่งร่างกายสัตว์จะหลั่งออกมาเมื่อได้รับความเครียด
4.เพิ่มการสังเคราะห์ DNA และ RNA ทำให้การสร้างโปรตีนสมบูรณ์ขึ้น
5.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค

ผลของการเสริมแร่ธาตุโครเมี่ยมในอาหารสุกร

สุกรอนุบาล

 ลดความเครียดในลูกสุกร ทนต่อสภาวะเครียด
 มีการตอบสนองต่อภูมิต้านทานโรค

สุกรรุ่น-ขุน

 ช่วยเร่งการเจริญเติบโต
 ปรับปรุงคุณภาพซาก (เพิ่มการสะสมเนื้อแดง ลดการสะสมไขมัน)

รูปที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันสุกร ระหว่างสูตรอาหารที่เสริมและไม่เสริมแร่ธาตุโครเมี่ยม

เสริมโครเมี่ยม ไม่เสริมโครเมียม

จากรูปพบว่าการเสริมแร่ธาตุโครเมี่ยมในอาหารสุกรจะช่วยปรับปรุงคุณภาพซาก (เพิ่มการสะสมเนื้อแดง ลดการสะสมไขมัน) ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการไม่เสริมแร่ธาตุโครเมี่ยมในอาหารสุกร

สุกรพันธุ์

 เพิ่มอัตราการตกไข่ อัตราการผสมติด และอัตราการรอดของตัวอ่อน
 เพิ่มขนาดครอก จำนวนลูกแรกคลอดมีชีวิตต่อครอกเพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1 สารออกฤทธิ์สำคัญ

ผลิตภัณฑ์ สารออกฤทธิ์ ชนิดสัตว์ ปริมาณที่แนะนำให้ใช้
โครลิเนต
(Crolinate)
ใน 1 กิโลกรัม ประกอบด้วย
Chromium picolinate 8.33 กรัม
ซึ่งมี Chromium 1.00 กรัม
Pig  ลูกสุกรอนุบาลใช้ 200 กรัมต่อตันอาหารสัตว์
 สุกรรุ่น-ขุนใช้ 200 กรัมต่อตันอาหารสัตว์
 สุกรพันธุ์ใช้ 200 กรัมต่อตันอาหารสัตว์

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด
333/12-13 หมู่ 9 ถ.บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทร. 02-9644912-14 แฟกซ์. 02-9644915
WWW.BICCHEMICAL.COM