
เต็มประสิทธิภาพ ด้วยกลูตาราลดีไฮด์แท้
15/08/2013
LIVESTOCK ASIA EXPO & FORUM 2013
24/08/2013
เต็มประสิทธิภาพ ด้วยกลูตาราลดีไฮด์แท้
15/08/2013
LIVESTOCK ASIA EXPO & FORUM 2013
24/08/2013ทำไมไก่มักตายเมื่อเจอสภาพอากาศร้อนและจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ?
สภาพอากาศเขตร้อนชื้นเป็นสาเหตุหลักในการเกิดความเครียดจากความร้อน ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ในปัจจุบัน สัตว์ได้รับการปรับปรุงพันธุ์กรรมให้มีอัตราการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูง แต่นั้นหมายความว่าต้องใช้อาหารที่มีค่าโภชนะสูงเพียงพอต่อความต้องการตามพันธุ์กรรมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสัตว์ต้องเร่งเผาพลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และผลเสียที่ตามมาอีกประการคือไก่ต้องเร่งคายพลังงานส่วนเกินออกมาสูงเช่นกัน รวมทั้งประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนชื้น สัตว์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์กรรมมีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนต่ำ และการระบายความร้อนเป็นไปได้ลำบาก โดยเฉพาะสัตว์ปีกไม่มีต่อมเหงื่อ แต่อย่างไรก็ตามเรามาทำความเข้าใจในสภาวะอุณหภูมิปกติไก่จะปรับพฤติกรรมเพื่อการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ดังนี้
1.การผ่านความร้อนจากตัวไก่ไปสู่วัตถุที่เย็นกว่า (Conduction) เช่น กรง พื้นกรง วัตถุที่ใช้รองพื้น
2.การระบายความร้อนโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของอากาศรอบตัวพาความร้อนจากตัวไก่ (Convection)
3.การแผ่รังสีความร้อนออกจากผิวหนัง (Radiation)
4.การระบายความร้อนออกจากร่างกายทางระบบหายใจ (Evaporation)โดยการอ้าปากหายใจ
วิธีการระบายความร้อน
รูปที่ 1 กลไกการระบายความร้อนออกนอกร่างกายของไก่
โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส การระบายความร้อนของไก่โดยผ่าน 3 วิธีแรก ซึ่งเป็นการส่งผ่านความร้อนทางผิวหนังถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย สังเกตง่ายๆ จะเห็นไก่แสดงอาการกางปีกกระพือปีก เพื่อให้ร่างกายได้สัมผัสกับอากาศและมีการพาความร้อนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ไก่จะพยายามหามุมที่เย็นที่สุดในโรงเรือนและขุดคุ้ยสิ่งรองพื้นเพื่อให้ตัวได้สัมผัสกับสิ่งที่เย็นกว่า ด้วยเหตุนี้การเลี้ยงไก่ในกรงจึงมีโอกาสที่จะทำให้ไก่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนมากกว่าไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยพื้น เพราะในกรงไก่จะไม่มีโอกาสเลือกหาจุดที่เย็นที่สุดได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมรอบตัวไก่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายของไก่คือ 39-40 องศาเซลเซียส การระบายความร้อนโดย 3 วิธีแรกก็มักจะไม่ค่อยได้ผล ไก่จึงเริ่มระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยผ่านทางระบบหายใจ ดังนั้นเมื่ออากาศร้อนสูงๆ เราก็จะสังเกตเห็นไก่แสดงอาการอ้าปากหายใจและหายใจเร็วขึ้น เรียกว่าอาการหอบ(panting) สัตว์จะกินน้ำมากขึ้นเนื่องจากสูญเสียน้ำมากทางลมหายใจ ทางปัสสาวะ และสูญเสียแก๊ซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ทางการหายใจ
สัญญาณบ่งบอกของสภาวะเครียดจากความร้อน (Heat stress) | |
---|---|
Thermal Comfort Zone |
Heat Streess |
การปรับพฤติกรรม | |
การนำความร้อน |
ไก่จะเริ่มหอบ, กางปีกเพื่อระบายความร้อน |
ผลเสียที่เกิดขึ้น | |
ผลกระทบต่อสมมรถการผลิตน้อย |
สัตว์สูญเสียน้ำจากการระบายความร้อน ทางลมหายใจและทางปัสสาวะ |
![]() |
![]() |
![]() |
รูปที่ 2 ผลกระทบจากความเครียดจากสภาวะอากาศร้อนของไก่ |
แนวทางป้องกันและลดความเครียดจากอากาศร้อน มีอยู่หลายวิธีการ ได้แก่
การจัดการฟาร์ม เช่น เปิดพัดลมระบายอากาศ หรือลดความหนาแน่นของจำนวนไก่ภายในโรงเรือน
การจัดการด้านอาหาร เช่น การเสริมแหล่งไขมันในอาหาร เพราะไขมันก่อให้เกิดความร้อน(Heat increment) ต่ำกว่าคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน
การจัดการน้ำดื่ม ควรจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดและเย็นให้เพียงพอ ถ้าเสริมร่วมกับสารผสมล่วงหน้าที่มีส่วนผสมของวิตามินซีหรือแร่ธาตุโซเดียม ไบคาร์บอเนตจะช่วยลดความเครียดจากอากาศร้อน และช่วยเสริมสร้างเปลือกไข่ให้แข็งแรงเพิ่มขึ้น
วีโวไลท์ สารเสริมวิตามินและแร่ธาตุสำหรับไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด และสุกร
ลดความเครียดจากอากาศร้อน
ต้านอนุมูลอิสระในเซลล์
รักษาสมดุลอิเลคโตรไลท์ในเซลล์ร่างกาย
ป้องกันภาวะการขาดน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของไข่เปลือกบางในไก่ไข่โดยในระหว่างกระบวนการสร้างเปลือกไข่ จะมีการทำปฏิกิริยาระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เพื่อให้ได้ไบคาร์บอเนตเพื่อที่จะไปรวมกับแคลเซียมไอออน จากนั้นจะถูกนำไปสะสมและสร้างเปลือกไข่
ช่วยรักษาสมรรถนะการเจริญเติบโตระหว่างและหลังเกิดความเครียดจากอากาศร้อน
ตารางที่ 1 สารออกฤทธิ์สำคัญ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ผลิตภัณฑ์ | สารออกฤทธิ์ | ปริมาณที่แนะนำ | |||
วิตามินซี | โซเตียม | โพแทสเซียม | โซเดียมไบคาร์บอเนต | ||
วีโวไลท์ | / | / | / | / | ใช้วีโวไลท์ 2 กรัมละลายในน้ำดื่ม 2 ลิตร |
คุณสมบัติวีโวไลท์
อยู่ในรูปแบบผง ชนิดละลายน้ำ
ละลายน้ำได้อย่างสมบรูณ์
ไม่ติดขัด หรือตกค้างในนิปเปิ้ล
คุณประโยชน์
วิตามินซี:
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์
ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมน เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กระดูกอ่อน และกระดูกแข็ง
เพิ่มภูมิต้านทานการติดเชื้อโรค
ปรับสมดุลอุณหภูมิในร่างกายภายใต้สภาวะอากาศร้อน
โซเดียม: ช่วยปรับสมดุลอิเลคโตรไลท์ภายในเซลล์ และเป็นตัวการสำคัญในการส่งกระแสประสาท
โพแทสเซียม: เป็นไอออนบวกที่สำคัญของนํ้าในเซลล์ และมีความเข้มข้นกว่าในน้ำนอกเซลล์ถึง 30 เท่าหรือมากกว่า
ช่วยควบคุมความดันออสโมติกภายในเซลล์
ช่วยรักษาดุลของน้ำและกรด-ด่าง
ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อและการนำกระแสประสาท
ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์
โซเดียม ไบคาร์บอเนต:ในอุตสาหกรรมอาหารไก่ไข่ นิยมใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตกันมาก
1. เป็นแหล่งอิเล็คโตรไลท์ โดย Na+ และ HCO-3 นับว่าอิเล็คโตรไลท์ที่มีความสําคัญในเรื่องของการรักษาสมดุลของอวัยวะต่างๆ และช่วยควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกายให้คงที่โดยในสภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกในการปรับสมดุลของอิเล็คโตรไลท์ได้ดีอยู่แล้ว แต่พบว่าในช่วงที่มีอุณหมิสูง (หน้าร้อน) ทําให้ไก่ไข่อยู่ในภาวะความเครียดที่เกิดจากความร้อน (Heat Stress) ทําให้ร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลของอิเล็คโตรไลท์ได้
2. เป็นแหล่งของไบคาร์บอเนตสําหรับการสร้างเปลือกไข่ โดยในสภาวะปกติในร่างกายของไก่ไข่จะมีทําปฏิริยาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ทําให้ได้ไบคาร์บอเนตเพื่อที่จะไปรวมตัวกับแคลเซียมไอออน จากนั้นถูกนําไปสะสมและสร้างปลือกไข่ แต่ในช่วงที่มีอุณหมิสูง (หน้าร้อน) ไก่มีการหายใจถี่ขึ้นส่งผลให้มีการสูญเสียแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายมากเกินไปเกิดภาวะด่างในร่างกาย (Respiratory alkalosis) ทําให้เกิดการขาดไบคาร์บอเนตที่จะไปรวมกับแคลเซียมไข่ที่ได้จึงมีเปลือกบาง
3. เป็นบัฟเฟอร์ช่วยปรับสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากในช่วงที่มีอุณหมิสูงทําให้ไก่ไข่อยู่ในภาวะความเครียดที่เกิดจากความร้อน ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในระบบทางเดินอาหารมีพีเอชที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโทษ ส่งผลทําให้สัตว์ป่วย เมื่อเสริมโซเดียม ไบคาร์บอเนตในอาหารไก่ไข่ ส่งผลทําให้ พีเอชมีความสมดุลย์ในระบบทางเดินอาหารและจุลินทรีย์ที่ก่อโทษไม่สามารถเจริญเติบโตเนื่องจากพีเอชไม่เหมาะสม