
งานประชุมใหญ่สามัญ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประจำปี 2553
23/02/2010
มาตรฐาน FAMI-QS (FAMI-QS STANDARD)
13/10/2010
งานประชุมใหญ่สามัญ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประจำปี 2553
23/02/2010
มาตรฐาน FAMI-QS (FAMI-QS STANDARD)
13/10/2010มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025
มาตรฐานว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
ISO/IEC 17025 General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories
มาตรฐาน ISO/IEC คือ มาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งกำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Standardization Organization, ISO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission, IEC) และมาตรฐาน ISO มีหลายอนุกรม เช่น Guide 25, 9000, 14000 เป็นต้น ดังนั้นมาตรฐานนี้จึงเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการ
มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories) มาตรฐานนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 มีการประกาศใช้ในหลายประเทศทั่วโลกเมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เพื่อรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025-1999
สำหรับประเทศไทยนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานแห่งแรกที่ให้การรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการ โดยได้แปลความมาตรฐาน ISO/IEC 17025-1999 เป็นภาษาไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 และใช้ชื่อว่า“มาตรฐานเลขที่ มอก.17025-2543 (ISO/IEC 17025 -1999): ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปที่ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ โดยเริ่มใช้มาตรฐานนี้กับอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ไฟฟ้า เครื่องกล ยานยนต์ ต่อมาได้พัฒนาไปสู่ห้องปฏิบัติการเคมี ปิโตรเคมี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ อาหารและยา และอื่น ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และเนื่องจากมาตรฐาน ISO/IEC 17025-1999 มีการอ้างอิงถึงมาตรฐาน ISO 9001:1994 และ ISO 9002:1994 ซึ่งมีการยกเลิกและประกาศมาตรฐานใหม่เป็น ISO 9001:2000 ทำให้ต้องมีการทบทวนมาตรฐาน ISO/IEC 17025-1999 เดิม และประกาศใหม่เป็น ISO/IEC 17025-2005 ซึ่งมาตรฐานนี้มีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อของข้อกำหนด เฉพาะในส่วนที่เห็นว่าจำเป็นต่อเพื่อให้มาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ISO 9001:2000
ปัจจุบันมีหน่วยงานแห่งชาติที่ให้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025-2005 จำนวน 3 แห่ง คือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ห้องปฏิบัติการ บริษัทบิ๊ค เคมิคอล จำกัด มีความมุ่งมั่นในการจัดทำมาตรฐาน ISO/IEC 17025 นี้ขึ้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผลการทดสอบที่ได้รับจากห้องปฏิบัติการนั้น ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เนื่องจากปัจจัยที่ใช้ในการประเมินห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง เป็นปัจจัยทั้งหมดที่มีผลต่อการผลิต
ข้อมูลการทดสอบได้แก่ ความสามารถทางวิชาการของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ การใช้วิธีทดสอบที่เหมาะสม และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้มาแล้ว ความสามารถในการสอบกลับได้ของการวัด และการสอบเทียบไปยังมาตรฐานระดับชาติ ความเหมาะสมของเครื่องมือทดสอบ และการบำรุงรักษา ภาวะแวดล้อมของการทดสอบ การจัดการ และการขนส่งตัวอย่าง การประกันคุณภาพของผลการทดสอบ และยังได้ครอบคลุมข้อกำหนดด้านการบริหารคุณภาพด้วย นอกจากนี้การรับรอห้องปฏิบัติการยังใช้เป็นเกณฑ์ให้ห้องปฏิบัติการ พิจารณาว่าได้ทำงานของตนเองถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม