(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025
26/03/2010
การควบคุมหนูทางการเกษตร (RODENT CONTROL FOR AGRICULTURE)
13/10/2010
มาตรฐานสากล ISO/IEC 17025
26/03/2010
การควบคุมหนูทางการเกษตร (RODENT CONTROL FOR AGRICULTURE)
13/10/2010
 

มาตรฐาน FAMI-QS (FAMI-QS STANDARD)

FAMI_QS-bis

ระบบบริหารคุณภาพสำหรับ Feed Additive และPreMixture

FAMI-QS คือมาตรฐานอะไร

FAMI-QS (Feed Additive and PreMixture Quality Systems) คือระบบบริหารคุณภาพและความปลอดภัย สำหรับผู้ผลิตวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2547 กำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ในสหภาพยุโรป หรือ FEFNAN (the European Association of Feed Additive Manufacture) เพื่อควบคุมสุขอนามัยและความปลอดภัยในการผลิตวัตถุดิบแต่งเติมในอาหารสัตว์ ผู้ประกอบการที่ต้องการทำมาตรฐาน FAMI-QS ต้องเป็นผู้ผลิตวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (Feed Additive) โภชนะบำบัด (Functional Feed) สารผสมล่วงหน้า (PreMixture) และสารที่ใช้เพื่อการผลิตสารข้างต้นเท่านั้น ข้อกำหนดของมาตรฐาน FAMI-QS ได้พัฒนามาจากข้อกำหนดในมาตรฐาน GMP, HACCP, ISO 9001: 2008, ISO 14001, OHSAS 18001, SA 8000, ISO 22005 และ ISO 22000 ซึ่งเนื้อหาได้ครอบคลุมในเรื่อง ระบบบริหารจัดการ ความรับผิดชอบของผู้บริหาร การจัดการด้านทรัพยากร การควบคุมทรัพยากร การตรวจสอบระบบ เช่น Internal Audit และการควบคุมการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

กุญแจสำคัญสำหรับการจัดทำระบบมาตรฐาน FAMI-QS

 กำหนดนิยามและขอบเขตของมาตรฐาน 
ตรวจ Pre-Audit ได้แก่ การวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อบกพร่องขององค์กรที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 
 เริ่มต้นการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานของระบบการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารสัตว์ 
 การตรวจสอบต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 
 มีการตรวจติดตามระบบอย่างต่อเนื่อง และทำการทวนสอบทั้งระบบเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานใหม่ทุกๆ 3 ปี

หน่วยงานผู้ให้การรับรองมาตรฐาน FAMI-QS

การได้รับใบรับรองมาตรฐาน FAMI-QS รวมถึงการต่ออายุใบรับรองทุกๆ 3 ปีนั้น ต้องผ่านการดำเนินการตรวจสอบต่างๆ ว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐาน FAMI-QS และ Regulation (EC) 183/2008 ที่ได้กำหนดไว้ และเพื่อให้ FAMI-QS สามารถเป็นเครื่องมือในการควบคุมความปลอดภัยสำหรับอาหารสัตว์ได้อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องผ่านการพิจารณาและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาติ หน่วยงานที่สามารถให้การรับรองมาตรฐาน FAMI-QS ได้แก่

 Bureau Veritas Certification
 CSQA
 DS Certificering A/S
 DEKRA Certification GmbH
 DNV Certification B.V.
 DQS
 Eurofins Scientific, Inc.
 HSL Certification Set\rvice
 Lloyd’s Register Nedrerland BV
 SAI Global
 SGS
 SQS
 SWISS Cert Pvt Ltd.
 TÜV  NORD (Thailand) Ltd
 www.certification.bureauveritas.com
 www.csqa.it
 www.dscert.dk
 www.dekra-certification.com
 www.dnv.com
 www.dqs.de
 www.eurofins.com
 www.hslcs.org.cn
 www.lr.org
 www.saiglobal.com
 www.be.sgs.com
 www.sqs.ch
 www.swisscert.co.in
 www.tuv-nord.com

ประโยชน์ของการได้รับการรับรองมาตรฐาน FAMI-QS

 ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดยุโรป และตลาดสากลได้มากขึ้น
 ช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารสัตว์
 เพิ่มความมั่นใจให้ของลูกค้าด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารสัตว์
 ช่วยให้พนักงานและผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป
 หลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการเสียเวลา และค่าใช้จ่าย
 เพิ่มโอกาสทางการค้ามากขึ้น

Note: Feed Additive (วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์) คือ วัตถุดิบที่เติมลงไปในอาหารสัตว์ในปริมาณเล็กน้อย เพื่อจุดประสงค์เฉพาะที่มิใช่เพื่อเป็นอาหาร แม้ว่าจะมีคุณค่าทางโภชนะหรือไม่ก็ตาม โดยส่งผลถึงลักษณะของอาหาร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้อาหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมหรือป้องกันโรค เช่น สารแต่งกลิ่นและรส (Flavor and Sweetener), สารประสานเม็ดอาหาร (Pellet Binder), สารปรับ pH ในทางเดินอาหาร (pH regulator Acidifier; Buffer), เอนไซม์ (Enzyme) และ Prebiotic & Probiotic เป็นต้น Note: Premix (พรีมิกซ์ หรือสารผสมล่วงหน้า) คือ สารปลีกย่อยก่อนผสมหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วย micro-ingredients หรือวัตถุดิบที่เติมในอาหารสัตว์ชนิดใด ชนิดหนึ่งหรือมากกว่า ผสมกับสื่อ (carrier) ที่เหมาะสมเพื่อเจือจาง (dilute) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ microingredients นั้นๆ สามารถกระจายตัวให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อสะดวกในการนำไปผสมในอาหารสัตว์ที่มีปริมาณมากต่อไป โดยมีปริมาณของสื่อไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ในกลุ่มสารเร่งการการเจริญเติบโต ซึ่งจะต้องมีสื่อไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

FAMI_QS-bis1

FAMI_QS-bis2

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติควบคุมอาหารสัตว์ พ.ศ. 2552, กองควบคุมอาหารสัตว์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; พิมพ์ครั้งที่ 2, ตุลาคม 2533.
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2547. หลักการอาหารสัตว์: หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์ เล่ม 2. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. BUREAU VERITAS. 2011.
FAMI-QS: QUALITY SYSTEM FOR FEED ADDITIVE. E-NEWSLETTER: JANUARY 2011. BANGKOK.
_____. 2011.  BUREAU VERITAS CERTIFICATE SERVICE: FAMI-QS CERTIFICATION PROVING YOUR COMMITMENT TO FEED LEGALITY, SAFETY & QUALITY.  AVAILABLE SOURCE: WWW.BUREAUVERITAS.COM/SCS, AUGUST 6, 2011.
THE FAMI-QS CERTIFICATION SYSTEM MANAGED. 2011. EUROPEAN CODE OF PRACTICE FOR FEED ADDITIVE AND PREMIXTURE OPERATORS.  AVAILABLE SOURCE: WWW.FAMI-QS.ORG/, AUGUST 6, 2011.
_____. 2001. ANNEXES TO FAMI-QS CODE OF PRACTICE GUIDANCE ON IMPLEMENTATION. AVAILABLE SOURCE: WWW.FAMI-QS.ORG/, AUGUST 6, 2011.
_____. 2001. SCOPE DESCRIPTION VERSION1. AVAILABLE SOURCE: WWW.FAMI-QS.ORG/, AUGUST 6, 2011.
_____. 2001. RULE FOR CERTIFICATION BODIES VERSION6/2001-05-13. AVAILABLE SOURCE: WWW.FAMI-QS.ORG/, AUGUST 6, 2011.
_____. 2001. RULE FOR OPERATORS VERSION6: 2001-05-13. AVAILABLE SOURCE: WWW.FAMI-QS.ORG/, AUGUST 6, 2011.