(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010
อนุมูลอิสระ (FREE RADICAL) และสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (OXIDATIVE STRESS)
06/12/2010
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010
อนุมูลอิสระ (FREE RADICAL) และสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (OXIDATIVE STRESS)
06/12/2010
 

สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTIOXIDANT)

  เอนไซม์และสารเคมีต่างๆ ที่ร่างกายสัตว์สร้างขึ้นนั้นมีปริมาณจำกัด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งภายนอกร่างกาย เช่น อาหาร เพื่อรักษาสมดุลต่างๆ ในร่างกายให้ดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ ด้วยกลไกคือ quenching oxygen reaction หรือปฏิกิริยาที่ลดพลังงานอิเล็คตรอนของออกซิเจนทำให้ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาจับกับสารอื่น เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ และ chain breaking reaction หรือปฏิกิริยาที่เกิดหลังจากมี ROS แล้ว เป็นการตัดปฏิกิริยาที่เกิดต่อเนื่องของ ROS ไม่ให้มีมากขึ้น (นัยนา, 2546) สารต้านอนุมูลอิสระ ที่พบในธรรมชาติมีหลากหลายชนิด เช่น วิตามินเอ, วิตามินอี, วิตามินซี กลูตาไทโอน และสารประกอบฟีนอลิค เป็นต้น

  วิตามินเอ ในรูปของเบต้าแคโรทีน (β-carotene) ซึ่งมีคุณสมบัติการละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้นจึงสามารถเข้าไปออกฤทธิ์ในการหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันที่เยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีกลไกเช่นเดียวกับวิตามินอี คือจะเป็นตัวให้อะตอมไฮโดรเจน (AntH) กับอนุมูลอิสระลิปิดเปอร์-ออกซี (LOO) และอนุมูลอัลคอกซิล (ROO) จากนั้นเบต้าแคโรทีนก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่อันตรายต่อเซลล์ (Ant) (แสดงในภาพที่ 1) และขับออกจากร่างกาย (เสาวนีย์, 2542; นงนภัส, 2551)

001

ภาพที่ 1 กลไกการหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่มา: นงนภัส (2551)

  วิตามินซี มีบทบาทในการเข้ามาช่วยรีดิวซ์วิตามินอีให้กลับมาอยู่ในรูปเดิม โดยการให้ไฮโดรเจนอะตอมกับวิตามินอี ซึ่งส่งผลให้วิตามินอีกลับมามีประสิทธิภาพในการหยุดปฎิกิริยาลูกโซ่อีกครั้ง กรดแอสคอร์บิกที่ผ่านการรีดิวซ์จะกลายเป็นกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิกที่ไม่พร้อมทำงาน จากนั้น กลูตาไทโอนในร่างกายจะทำหน้าที่รีดิวซ์กรดดีไฮโดรแอสคอร์บิกให้กลับไปเป็นกรดแอสคอร์บิกที่พร้อมทำงานเช่นเดิม (Lauren, 2008) (ดังแสดงในภาพที่ 2) วิตามินซีมีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดีจึงช่วยในการทำลายอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์เติมออกซิเจนก่อนที่จะเข้าจับเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อไม่ให้สารเหล่านี้เข้าทำลายเซลล์ รวมทั้งสารที่ผลิตออกมาขณะเกิดกระบวนการการจับกินสิ่งแปลกปลอม (phagocytosis) และวิตามินซีมีความสามารถในการป้องกันการทำลายสภาพธรรมชาติ (denature) ของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากสารก่อออกซิเดชันเหล่านั้น และมีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกัน (Stankova et al., 1975)

   นอกจากนี้สารประกอบฟีนอลิค ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนอะโรมาติก (aromatic ring) ที่มีหมู่ไฮโดรซี อย่างน้อย 1 หมู่ จึงสามารถละลายน้ำได้ สารประกอบฟีนอลิคที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กรดฟีนอลิค ฟลาโวนอยด์ และแทนนิน ซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระตัวใหม่ในปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยขัดขวางการดึงอะตอมไฮโดรเจนจากโมเลกุลข้างเคียง ทำหน้าที่เป็นตัวรีดิวซ์และกำจัดออกซิเจนที่อยู่ในรูปแอคทีฟ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการดักจับไอออนของโลหะไว้ในโมเลกุล เช่น เหล็ก และทองแดง ซึ่งในปฏิกิริยาที่มีโลหะไอออนจะเป็นการเร่งการสลายโมเลกุลของไฮโดรเปอร์ออกไซด์ เป็นการทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น

002

ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินอี วิตามินซีและกลูตาไทโอน
ที่มา: Lauren (2008)

003

ภาพที่ 3 การยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระตัวใหม่ในปฏิกิริยาลูกโซ่ของฟลาโวนอยด์
ที่มา: Pietta (2000) 

004

ภาพที่ 4 ตำแหน่งการดักจับไอออนโลหะของฟลาโวนอยด์
ที่มา: Pietta (2000)

เอเอกสารและสิ่งอ้างอิง

นัยนา บุญทวียุวัฒน์. 2546. ชีวเคมีทางโภชนาการ. ซิกม่า ดีไซน์กราฟฟิก จำกัด, กรุงเทพฯ
นงนภัส ดวงดี. 2551. สารต้านอนุมูลอิสระ. บทความกรมวิทยาศาสตร์บริการ. แหล่งที่มา:
ANTIOXIDANT.PDF, 18 พฤษภาคม 2553.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. 2542. หลักโภชนาการปัจจุบัน. ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, กรุงเทพฯ.
LAUREN, A.T. 2008. ANTIOXIDANT DEFICIENCIES IN HOSPITALIZED DOGS AND CATS. WORLD SMALL ANIMAL
VETERINARY ASSOCIATION. AVAILABLE SOURCE:
WWW.VIN.COM,
MARCH 18, 2010.
PIETTA, P.G. 2000. FLAVONOIDA AS ANTIOXIDANTS. J. NAT. PROD. 63: 1035-1042.
STANKOVA, L., N.B. GERHARDT, L. NAGAL AND H.R. BIGLEY. 1975. ASCORBATE AND PHAGOCYTE FUNCTION. INFECT. IMMUNOL. 12(2): 252-256.