(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010
อนุมูลอิสระ (FREE RADICAL) และสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (OXIDATIVE STRESS)
06/12/2010
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
15/11/2010
อนุมูลอิสระ (FREE RADICAL) และสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (OXIDATIVE STRESS)
06/12/2010
 

สารลดแรงตึงผิวในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)

   สารลดแรงตึงผิว คือสารที่มีคุณสมบัติในการรวมโมเลกุลให้มีน้ำหนักมากขึ้น เพื่อลดแรงเกาะหรือแรงตึงผิว (surface tension) ระหว่างกันของสสารนั้นๆ มีการนำไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นผลิตภัณฑ์น้ำทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สารลดแรงตึงผิวจัดเป็นสารพวก amphiphilic molecules ซึ่งในโมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

Surfactant_6

ภาพที่ 1 โครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว

1. ส่วนหัว เป็นส่วนที่มีขั้ว มีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic head group)
2. ส่วนหาง เป็นส่วนของโซ่ long hydrocarbon ไม่มีขั้วและมีคุณสมบัติชอบไขมัน (hydrophobic tail) สามารถละลายได้ดีสำหรับสารประเภทไฮโดรคาร์บอนและสารไม่มีขั้ว (non-polar)

   สารลดแรงตึงผิวจะไปลดแรงตึงผิวของของเหลวเพื่อให้เกิดกระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้พื้นผิวเปียก และช่วยในกระบวนการทำความสะอาด และเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น

หลักการทำงาน

1.การลดแรงตึงผิวของน้ำ ปกติโมเลกุลของน้ำจะมีแรงดึงดูดต่อกัน (แรงตึงผิวของน้ำ) สูงมาก เมื่อเติม สารลดแรงตึงผิวลงไป ส่วนหาง (ชอบไขมัน) จะถูกผลักออกไป ทำให้โมเลกุลไปเรียงตัวกันอยู่ที่ผิวน้ำ และทำให้แรงตึงผิวของน้ำลดลง น้ำจึงเข้าไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกต่างๆ ได้ง่าย

2.การทำให้พื้นผิวเปียก ปกติเมื่อหยดน้ำลงบนพื้นผิวที่เคลือบด้วยไข จะเห็นได้ว่าหยดน้ำยังคงรักษาสภาพรูปทรงเดิมเอาไว้ แต่เมื่อมีสารลดแรงตึงผิวผสมอยู่ในหยดน้ำนั้น หยดน้ำจะแผ่กว้างออกไป ซึ่งเป็นผลของการลดแรงตึงผิว ของน้ำ จึงทำให้พื้นผิวเปียกได้กว้างขึ้น

3.การดึงสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิว สารลดแรงตึงผิวจะไปลดแรงดึงดูดระหว่างสิ่งสกปรกและพื้นผิว โดยหันเอาส่วนหาง (ชอบไขมัน) พร้อมกับในสภาวะที่มีการเคลื่อนไหวของโมเลกุลต่างๆ ภายในน้ำ เช่น การกวาด การคน และการเขย่า เป็นต้น ทำให้เกิดแรงดึงขึ้นจนกระทั่งสิ่งสกปรกหลุดจากพื้นผิวได้

4.สิ่งสกปรกแขวนลอยในน้ำ หรือเกิดอิมัลชั่น เมื่อเติมสารลดแรงตึงผิวแล้วเขย่าหรือกวาดแรงๆ น้ำมันจะกระจายตัวเป็นหยดเล็กๆ จากนั้นโมเลกุลของสารลดแรงตึงผิวจะเข้าไปล้อมรอบหยดไขมันเล็กๆ นั้น โดยหันเอาด้านหาง (ชอบไขมัน) เข้าหาไขมัน เกิดการรวมตัวเป็นไมเซลล์ (micelle) ทำให้หยดไขมันเกิดการแขวนลอยอยู่ในน้ำ และไม่สามารถกลับมารวมตัวกันได้อีก จึงทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับคราบไขมันหลุดออก

Surfactant_2

ภาพที่ 2 โครงสร้างของ NPE กักเก็บคราบไขมันและสิ่งสกปรกไว้ภายใน เกิดการรวมตัวเป็นไมเซลล์

ประเภทของสารลดแรงตึงผิว 

สารลดแรงตึงผิว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามคุณสมบัติประจุไฟฟ้า

1. Anionic surfactant
2. Cationic surfactant
3. Nonionic surfactant
4. Amphoteric surfactant (Zwitterionics)

ประเภท
คุณสมบัติ
Anionic
surfactant
Cationic
surfactant
Nonionic
surfactant
Amphoteric
surfactant
ให้ประจุ ลบ บวก ไม่มีประจุ ทั้งประจุบวกและลบ
กลุ่มสารเคมี carboxylate, Alkylbenzene
sulfate, Linear Alkylbenzene
sulfonate,(LAS)
Quaternary Ammonium
Compound (QACs)
Polyether, Polyhydroxyl Betaine เช่น
Mirataine BET C30,
Dehyton K และ Amphoacetate
เช่น Miranol LC 32
อุตสาหกรรมที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป
โดยใช้มากถึง 49 % ของ
สารลดแรงตึงผิวทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
** มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
**เกิดฟองน้อย
ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
ของเด็ก, สบู่, แชมพู, ครีมอาบน้ำ
pHที่เหมาะสม   หาก pH เป็นเบส (pH10-11)
ส่งผลให้ ammonium salt สูญเสียประจุบวก
เกิดการตกตะกอน ทำให้ประสิทธิภาพลดลง,
  การแสดงคุณสมบัติขึ้นอยู่กับสภาพ pH
ของสภาพแวดล้อม ถ้าสภาพแวดล้อมเป็นเบส (pH>7)
จะให้ประจุลบ, ถ้าสภาพแวดล้อมเป็นด่าง (pH<7)
จะให้ประจุบวก, ถ้าสภาพแวดล้อมเป็นกลาง (pH = 7) จะไม่ให้ประจุ
ประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในน้ำกระด้าง1 ไม่ละลาย ละลายน้อยกว่า
Nonionic
ละลายดีที่สุด n.a
การเกิดฟอง ดีที่สุด น้อยที่สุด ดี ค่อนข้างดี
ความระคายเคือง
ต่อตาและผิวหนัง
มาก มากที่สุด น้อย น้อยที่สุด

1ค่าความกระด้างของน้ำ: คำนวณเป็นระดับของแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) น้ำกระด้างมีค่าตั้งแต่ ระดับ 150 ขึ้นไป ที่มา: Tiger Chemical Company (2004), อ้างโดย วิสาขา (2548), ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร (2555),

Surfactant_4

ภาพที่ 3 การทำงานของสารลดแรงตึงผิวโดยส่วนหัว (ส่วนที่ชอบน้ำ) จะจับกับโมเลกุลของน้ำ ส่วนหาง (ส่วนชอบไขมัน) จะจับกับสิ่งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายน้ำ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแล้วแขวนลอย อยู่ในน้ำ

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

จิรสา กรงกรด. 2548. น้ำยาทำความสะอาด. สารลดแรงตึงผิว.
แหล่งที่มา: WWW.DSS.GO.TH, 15 พฤศจิกายน 2555.

ภาควิชาเภสัญเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร. 2555. น้ำยาทำความสะอาด. สารเคมีในชีวิตประจำวัน.
แหล่งที่มา: WWW.PHARM.SU.AC.TH, 15 พฤศจิกายน 2555.

วิสาขา ภู่จินดา 2548. การใช้ประโยชน์สารลดแรงตึงผิวในการบำบัดน้ำเสีย. การจัดการสิ่งแวดล้อม. 1 (1): 1-15.

ENVIRONMENTAL REMEDIATION RESOURCES. 2012. SURFECTANT ENHANCED REMEDIATION.
AVAILABLE SOURCE: WWW.ERRAUS.COM, NOVEMBER 15, 2012.

TIGER CHEMICAL COMPANY. 2004. SURFACTANT GUIDE & FORMULA.
AVAILABLE SOURCE: WWW.WEBWORLD.COM , NOVEMBER 15, 2012.