กลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde) คืออะไร
กลูตาราลดีไฮด์ ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (U.S Environmental Protection Agency -EPA) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 จัดอยู่ในกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้อย่างครอบคลุม ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ ยีสต์ เชื้อรา ไวรัส โปรโตซัว รวมถึงสปอร์ต่างๆ เช่น ซาลโมเนลลา, อี. โคไล, ไวรัสพีอีดี (PED), ไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRSV), ไวรัสปากและเท้าเปื่อย (FMD) และได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วว่าสามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดนก (Avian influenza H5N1) ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ กลูตาราลดีไฮด์ ยังมีฤทธิ์ไม่กัดกร่อนโลหะ ยางและพลาสติก ด้วยเหตุนี้เองกลูตาราลดีไฮด์ จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้ออย่างแพร่หลายและยาวนานกว่า 60 ปี ทั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ และโรงงานอาหารสัตว์ อีกทั้งกลูตาราลดีไฮด์ก็ไม่ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีความปลอดภัยในการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม กลูตาราลดีไฮด์ก็ไม่เหมาะสำหรับใช้ฆ่าเชื้อกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีฤทธิ์ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อ
โครงสร้างของกลูตาราลดีไฮด์ จัดอยู่ในกลุ่มไดอัลดีไฮด์ (dialdehyde) โมเลกุลประกอบด้วย คาร์บอน 5 อะตอม ต่อกับ หมู่อัลดีไฮด์ (H-C=O) ที่แขนทั้ง 2 ข้าง โดยหมู่อัลดีไฮด์นี้เองที่จะเข้าทำปฏิกริยากับหมู่เอมีน (NH2, NH3+) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างเซลล์และโปรตีนของจุลินทรีย์ โดยการเชื่อมต่อแบบ cross-links เป็นการรบกวนการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ รวมถึงการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางกายภาพและชีวเคมีภายในเซลล์ ทำให้จุลินทรีย์ตายในที่สุด ดังภาพที่ 1
จะเห็นได้ว่ากลูตาราลดีไฮด์เป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ในปัจจุบันมีผู้ผลิต บางรายได้ผลิตกลูตาราลดีไฮด์ปลอม โดยปลอมปนฟอร์มาลดีไฮด์ ออกสู่ตลาดอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่ลดลง เช่น มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ลดลง ดังภาพที่ 2 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่เหลืออยู่เมื่อสัมผัสกับฟอร์มาลดีไฮด์มีปริมาณมากกว่าเมื่อสัมผัสกับกลูตาราลดีไฮด์อย่างชัดเจน และฟอร์มาลดีไฮด์ยังมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อสปอร์ต่างๆ น้อยกว่ากลูตาราลดีไฮด์ถึง 2-8 เท่าแล้ว นอกจากนี้ ฟอร์มาลดีไฮด์ยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือ การวิเคราะห์แยกกลูตาราลดีไฮด์แท้ออกจากกลูตาราลดีไฮด์ปลอม หรือกลูตาราลดีไฮด์ที่มีฟอร์มาลดีไฮด์ปลอมปนนั้น ต้องวิเคราะห์แยกในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) คืออะไร
ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารกลุ่มอัลดีไฮด์ชนิดหนึ่ง มีโมเลกุลคล้ายกับกลูตาราลดีไฮด์ คือ คาร์บอน 5 อะตอม แต่ต่อกับหมู่อัลดีไฮด์ (H-C=O) ที่แขนเพียง 1 ข้าง ปกติอยู่ในรูปแก๊ส ไม่มีสี มีกลิ่นเหม็นรุนแรง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไม้ เรซิน โฟม พลาสติก ลามิเนต กระดาษ และอาจพบฟอร์มาลดีไฮด์ในรูปสารละลาย ที่เรียกว่าฟอร์มาลิน (formalin) หรือเรียกทั่วไปว่า “น้ำยาดองศพ” ซึ่งประกอบด้วยฟอร์มาลดีไฮด์ 37-40% และอาจมีเมทานอลผสมอยู่ด้วย 6-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์ ซึ่งมีความเป็นพิษสูงกว่ามาก และสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์นี้เองที่มีผู้ผลิตบางรายนำมาปลอมปนในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีขายในท้องตลาดขณะนี้
ฟอร์มาลดีไฮด์ มีข้อจำกัดในการใช้ค่อนข้างมาก เนื่องจากฟอร์มาลดีไฮด์ถูกจัดอยู่ในสารก่อให้เกิดมะเร็ง กลุ่มที่ 1 ตามประกาศของ สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer, IARC) องค์การอนามัยโลก และสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (U.S Environmental Protection Agency -EPA) นอกจากนี้ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจะก่อให้เกิดการระคายเคือง การสัมผัสกับสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ที่มีความเข้มข้น 2-10 % เป็นเวลานานจะทำให้ผิวหนังอักเสบ พอง และเป็นตุ่มคัน และสำหรับผู้ที่มีความไวต่อสารนี้ เมื่อสูดดมก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์เข้าสู่ร่างกายจะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก กรณีสูดดมหรือสัมผัสก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระดับประมาณ 2-3 มก./กก.จะทำให้เกิดระคายเคืองที่ตา จมูก และคอ และที่ระดับประมาณ 10-20 มก./กก. จะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรงที่ปากและคอ พร้อมกับมีอาการไอ และก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ยังเป็นอันตรายต่อเอ็มบริโอของลูกไก่ที่กำลังเจริญ โดยเฉพาะช่วงอายุ 24-96 ชั่วโมง และช่วงลูกไก่แรกเกิด นอกจากนี้ สถานที่เก็บรักษาฟอร์มาลดีไฮด์ ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เนื่องจากก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระเหยขึ้นมานั้นสามารถติดไฟได้ง่าย และเมื่ออยู่ในบริเวณจำกัดอาจก่อให้เกิดการระเบิดได้
กลูตาราลดีไฮด์แท้วิเคราะห์อย่างไร
การวิเคราะห์กลูตาราลดีไฮด์ ด้วยตาเปล่า, ชุดทดสอบ (test kit) หรือการไตเตรทนั้น ไม่สามารถวิเคราะห์แยกหรือระบุปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อได้ เนื่องจากค่าที่ได้จากการไตเตรท จะรวมเอาสารละลายทุกชนิดที่มีหมู่อัลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ กลูตาราลดีไฮด์, ฟอร์มาลดีไฮด์ และไกลออกซอล (glyoxal) ซึ่งเป็นอนุพันธุ์ของฟอร์มาลดีไฮด์ การวิเคราะห์แยกกลูตาราลดีไฮด์แท้ออกจากกลูตาราลดีไฮด์ปลอม หรือกลูตาราลดีไฮด์ที่มีฟอร์มาลดีไฮด์ปลอมปนนั้น ต้องวิเคราะห์แยกในห้องปฏิบัติการ ด้วยเครื่อง HPLC (high-pressure liquid chromatography) เท่านั้น เครื่อง HPLC จะสามารถวิเคราะห์แยกฟอร์มาลดีไฮด์และกลูตาราลดีไฮด์ออกจากกัน แล้วแปรผลออกมาในรูปแบบกราฟที่เรียกว่า โครมาโตแกรม (chromatogram) ดังแสดงในภาพที่ 4
บริษัท บิ๊ค ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ในเครือกลุ่ม บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด ได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในขั้นตอนเดียว โดยดึงคุณสมบัติการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงและออกฤทธิ์ได้อย่างครอบคลุม ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ ยีสต์ เชื้อรา ไวรัส โปรโตซัว รวมถึงสปอร์ต่างๆ ของกลูตาราลดีไฮด์ ร่วมกับสารลดแรงตึงผิว ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ ผสมด้วยหัวน้ำหอมคุณภาพดี ช่วยให้กลิ่นหอมสดชื่น และที่สำคัญที่สุด เราได้คัดสรรวัตถุดิบกลูตาราลดีไฮด์แท้ 100 % นำเข้าจากอเมริกา ไม่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อของเราออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ของเราได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ด้วยเครื่อง UHPLC หรือ Ultra High Performance Liquid Chromatograph ทุกครั้งก่อนส่งถึงมือคุณ