
หนู (RATS AND MICE)
18/03/2009
VIV ASIA 2009
25/06/2009
หนู (RATS AND MICE)
18/03/2009
VIV ASIA 2009
25/06/2009เทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (BIO-TECHNOLOGY IN FEED INDUSTRY)
อุตสาหกรรมการเลี้ยวสัตว์ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำสัตว์ที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมสูงเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม มีระบบป้องกันรักษาสุขอนามัยที่ดี มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่เติมลงในอาหารสัตว์ เพื่อทำให้สัตว์สามารถให้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ผลของการใช้ยาและสารเคมีนี้ ทำให้เกิดปัญหาสารตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่างๆลง ตลอดจนเกิดปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ต่างประเทศตั้งข้อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ส่งออกจากประเทศไทย เช่น เนื้อไก่ และเนื้อกุ้ง ต้องไม่มีสารเคมีและยาปฏิชีวนะตกค้าง ดังนั้นจึงมีการหาแนวทางใหม่ๆที่ทำให้สัตว์สามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตสูงสุดเท่าเดิม และไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หนึ่งในแนวทางนั้นคือ การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (natural animal products) และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้จะช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยเพิ่มการย่อยโภชนะในอาหารเพื่อลดปริมาณโภชนะที่ย่อยไม่ได้ให้น้อยลง เป็นการลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ใน ค.ศ. 1940 นักวิทยาศาสตร์พบว่ายาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น Tetracyclines สามารถใช้เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตในสัตว์ได้ (Antibiotic growth promoter ; AGP) และปี ค.ศ. 1953 US-FDA ได้รับรองให้ Chlortetracycline และ Oxytetracycline เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ (animal feed additives)
ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 Swann Committee แห่งสหราชอาณาจักรค้นพบสารพันธุกรรมที่ต้านฤทธิ์ยาปฏิชีวนะ Oxytetracycline ในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับ AGP และในเชื้อ Salmonella typhimurium สหราชอาณาจักรจึงประกาศห้ามใช้ AGP ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 เป็นต้นมา และเมื่อต้นปี ค.ศ. 2006 EU ก็ได้ประกาศห้ามใช้ AGP ในอาหารสัตว์เช่นกัน
ปัจจุบันประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ต่างห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ที่มียาปฏิชีวนะตกค้าง เนื่องจากกลัวว่ายาปฏิชีวนะตกค้างจะเป็นสารก่อมะเร็ง และทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในคน ดังนั้น การส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ไปยังประเทศต่างๆเหล่านี้ต้องทำการตรวจหาปริมาณยาปฏิชีวนะตกค้างเป็นหน่วยละเอียดถึง ‘ส่วนในพันล้านส่วน’ (part per billion ; ppb) จึงต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคที่มีความไวสูง เช่น LC/MS/MS (Liquid Chromatography/Mass Spectometry/Mass Spectometry) ซึ่งใช้ตรวจ Chloramphenicol และ Nitrofurans
จากการห้ามใช้ AGP ในอาหารสัตว์ ทำให้มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาสิ่งต่างๆ มาใช้ทดแทนซึ่งสารเสริมชีวนะ (Probiotics) และอาหารเสริมชีวนะ (Prebiotics) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความปลอดภัยในการใช้สูง แต่อาจเห็นผลช้าและไม่ชัดเจนนักเมื่อเทียบกับ AGP อันเนื่องมาจากความจำเพาะระหว่างชนิดสัตว์กับสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ รวมถึงความเครียดของสัตว์จากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย
ในปัจจุบันนี้มีอาหารสัตว์ วิตามิน และอาหารเสริมของสัตว์เลี้ยงหลากหลายชนิดที่มี Prebiotic หรือ Probiotic เป็นส่วนผสมในอาหาร ทั้งเพื่อกระตุ้นยอดขาย ดึงดูดความสนใจ และเพื่อประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ผู้เลี้ยงควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจเพื่อตัดสินใจได้ดีขึ้นในการเลือกซื้อ ให้เกิดประโยชน์จริงๆ
บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า Prebiotic และ Probiotic คืออะไรเกี่ยวข้องอย่างไรในชีวิตประจำวันของเราและการเลี้ยงสัตว์ จำเป็นอย่างไร มีประโยชน์อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกันเองอย่างไร
Prebiotic คือ สารอาหารกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียบางชนิดที่ช่วยให้สุขภาพของเจ้าของทางเดินอาหารนั้นๆ ดีขึ้น (Probiotic) ทั้งยังควรสามารถจำกัดปริมาณการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเหล่านั้นได้ Probiotic คืออะไร? Probiotic คือ แบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่บางชนิดที่เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปผ่านทางการรับประทานแล้ว สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและระบบต่างๆในลำไส้ได้ รวมถึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารได้ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆในมนุษย์ก็คือนมเปรี้ยวต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ของ Probiotic ยังมุ่งเน้นถึงการที่แบคทีเรียเหล่านี้สามารถช่วยบำบัดคุณภาพน้ำได้อีกด้วย
เกี่ยวข้องกันอย่างไร?Prebiotic เปรียบเสมือนบ้านชั่วคราวของเหล่า Probiotic และแบคทีเรียที่ดีอื่นๆในทางเดินอาหาร Prebiotic ทำให้ Probiotic เหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น ผลที่ตามมาคือการข่มแบคทีเรียและจุลชีพอื่นๆที่ก่อโรค หรือเป็นพิษต่อร่างกาย อีกทั้งการย่อยและดูดซึมอาหารในลำไส้ของสัตว์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น สัตว์มีสุขภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ และ Prebiotic นั้นยังช่วยให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่า เมื่อ 2 สิ่งนี้ได้มาทำงานร่วมกัน จะเป็นผลดีต่อร่างกายมาก
ทำไมในอาหารสัตว์ถึงไม่ใส่ทั้ง 2 อย่างในสูตรเดียวล่ะ ?ในอาหารสัตว์สามารถใส่ทั้ง Prebiotic และ Probiotic พร้อมๆกันในสูตรก็ได้ แต่เนื่องจากการพัฒนาสูตรอาหารบางอย่างของแต่ละบริษัทได้มีการคิด ทดลอง ค้นคว้า และพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของปลาแต่ละอย่างที่ไม่เหมือนกัน การเติมสิ่งเหล่านี้ลงไปอาจจะทำให้ไม่ได้สูตรตามที่ต้องการ อีกทั้งเรื่องของต้นทุน เทคนิคที่แตกต่างกันไป บางสูตรก็มีการเติมทั้ง 2 อย่างซึ่งมักไม่นิยมกันเท่าไรนัก เนื่องจากอาหารจะมีราคาสูงขึ้น
ต้องให้สัตว์กินขนาดไหนจึงจะเพียงพอ ?ไม่มีระดับที่กำหนดตายตัวว่าที่ระดับเท่าไรดีที่สุด สำหรับสาร 2 ชนิดนี้ เพราะในสัตว์แต่ละชนิดก็มีระดับที่ต้องการแตกต่างกันไป แต่จะมีการศึกษาระดับที่ปลอดภัยไว้มาก เพราะการได้รับมากเกินไปนั้นอาจจะมีผลทำให้สัตว์ท้องเสียได้ โดยมากผู้ผลิตอาหารสัตว์แต่ละชนิดจะมีการศึกษาและทดสอบถึงระดับปลอดภัยในการเติมในสูตรอาหารนั้น ๆ อยู่แล้ว และส่วนของ Prebiotic แม้เติมในระดับสูง ๆ ก็ยังไม่มีผลต่อการท้องเสียแต่อย่างใด เพราะลักษณะอาหารจะเป็นตัวกำหนดอยู่แล้ว นั่นคือ หากเติมมากเกินไปจะไม่สามารถผลิตเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้ ซึ่งระดับมากที่สุดที่ยังสามารถอัดเม็ดได้นั้นก็ยังปลอดภัยต่อสัตว์อยู่มาก แม้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสได้รับสารอาหารเหล่านี้จากอาหารปกติอยู่แล้ว แต่เป็นปริมาณน้อยมาก ๆ จนอาจจะไม่มีผลแตกต่างกับการไม่ได้รับเข้าไปเท่าไรนัก และโดยเฉพาะในอาหารเม็ดทั่วไปที่มักมีใยอาหารต่ำ มีการย่อยที่ยากกว่าอาหารสด หากสัตว์เลี้ยงได้รับสารอาหาร 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะทำให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี ลดการเกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้อย่างมาก