โรคผิวหนังที่แผ่นเท้า (Foot pad dermatitis, FPD) คืออะไร มีความรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกอย่างไร เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน
ปัจจุบันการเลี้ยงไก่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การจัดการต้องดีและมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิเช่น สายพันธุ์ไก่ อาหาร โรงเรือน และการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน คือ ได้ไก่ส่งตลาดในเวลาที่กําหนด และไก่มีน้ำหนักดีตรงตามเป้าการผลิต รวมทั้งมีต้นทุนการผลิตต่ำสุด แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สายพันธุ์ไก่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงนั้น อาหารและสิ่งแวดล้อมต้องสอดรับซึ่งกันและกัน เพราะสิ่งที่เราพบเสมอ คือ พันธุกรรมไก่ดี แต่การเจริญเติบโตไม่ดี และมักพบว่าไก่มักมีปัญหาเรื่องสุขภาพขาและโรคผิวหนังที่แผ่นเท้า เหตุเหล่านี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการจัดการโรงเรือนได้ไม่ดี ซึ่งโรคนี้ถือเป็นโรคที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ เพราะส่งผลด้านคุณภาพซาก ความปลอดภัยด้านอาหาร สวัสดิภาพของสัตว์ และผลกำไรที่จะได้รับ
กรมปศุสัตว์เผยสถานการณ์เศรษฐกิจการปศุสัตว์ของสินค้าประเภทไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ปี 2557 ว่าการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 13 % คิดเป็น 2.132 ล้านตัน ส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 17 % โดยมีเป้าหมาย 630,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 78,000 ล้านบาท ด้วยการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสดของไทยที่ได้มาตรฐานสากล มาตรการควบคุมโรคระบาดสัตว์ และการตรวจรับรองสินค้าปศุสัตว์ที่เข้มงวดของกรมปศุสัตว์ ทำให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า และเปิดตลาดเนื้อสัตว์ปีกสดให้ไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555
ตลาดหลัก : ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ลาว และเยอรมนี
ตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง : สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ฟินแลนด์ พม่า และแคนาดา เป็นต้น
โดยโครงสร้างสินค้าส่งออกชิ้นส่วนไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ประกอบด้วย ไก่แปรรูป 90% และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 10% ปร ะกอบด้วย เนื้ออก น่อง ปีก และอวัยะเครื่องใน เป็นต้น และในปัจจุบันเราจะพบว่าทั้งตลาดภายในและต่างประเทศยังมีความต้องการชิ้นส่วนของตีนไก่นอกเหนือจากเนื้ออกและปีก อีกทั้งมีราคาสูงอีกด้วย โดยราคาในตลาดบ้านเราเฉลี่ยกิโลกรัมละ 75 บาท (ดังกราฟที่ 1)
กราฟที่ 1 ราคาเฉลี่ยตีนไก่ในแต่ละเดือนของปี 2557
ที่มา: http://www.taladsimummuang.com/dmma/portals/pricelistitem.aspx?id
สาเหตุของโรค (Foot pad dermatitis, FPD) หรือ Foot burn คืออะไร?
ความชื้นในวัสดุรองพื้นสูง และมีคุณภาพต่ำ เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรค FPD ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในไก่ทุกช่วงอายุ โดยมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องและส่งผลให้ความชื้นสูงขึ้น ได้แก่ การจัดการวัสดุรองพื้นไม่ดี การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การระบายอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ อาหาร ความหนาแน่นของฝูง สุขภาพของไก่ทั้งฝูง และการรั่วไหลของระบบน้ำ
วิการของโรค FPD?
เกิดแผลอักเสบและเนื้อตายที่อุ้มเท้า นิ้ว น่อง รวมทั้งอกของไก่ อาการเริ่มแรกผิวหนังมีลักษณะเหมือนเนื้อตาย ซึ่งนำไปสู่อาการบวม แดง และเกิดความร้อนใต้ผิวหนัง วิการของโรคที่รุนแรงจะทำให้ไก่เจ็บที่เท้า เดินไม่ได้ อัตราการเจริญเติบโตลดลง นอกจากสร้างความสกปรกแล้วยังเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียตามมา
สวัสดิภาพของสัตว์
ปัญหาผิวหนังที่แผ่นเท้าในไก่เป็นปัญหาที่มีมานาน และกลายเป็นจุดสนใจในการอภิปรายเกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ ด้านความปลอดภัยของอาหาร และคุณภาพซาก บางประเทศในยุโรปใช้โรคผิวหนังที่แผ่นเท้า เป็นตัวชี้วัดสวัสดิภาพในการผลิตไก่เนื้อ (Council Directive 2007/43/European Council, 2007) ตามระบบ Berk’s tree-step scoring ในหน่วยเปอร์เซ็นต์ โดยที่
SCORE เท่ากับ 1 หมายถึงเกิดโรค HYPERKERATOSIS เช่น เกิดตุ่มพองหนาที่ผิวหนัง หรือรอยแผลตื้น
SCORE เท่ากับ 2 หมายถึง เกิดโรครุนแรงและมีรอยแผลลึก
แนวทางการป้องกันปัญหาโรค FPD ในฟาร์ม?
1.การจัดการวัสดุรองพื้น การลดปริมาณความชื้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และควบคุมระดับความชื้นในวัสดุรองพื้นไม่สูงเกิน 30% ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ควรคำนึง.....
a. ชนิดของวัสดุรองพื้น: ควรเลือกชนิดที่ดูดซึมน้ำ ความชื้นได้ดี ไม่เป็นฝุ่น และสะอาด ซึ่งแกลบมีคุณสมบัติที่ดีสำหรับใช้เป็นวัสดุรองพื้น
b. ความหนาของวัสดุรองพื้นต้องเหมาะสม อย่างน้อยควรหนาประมาณ 1 นิ้ว
c. ตรวจสอบการรั่วไหลของอุปกรณ์ให้น้ำ ปรับให้มีระดับที่สูงพอเหมาะกับความสูงของไก่ในแต่ละระยะ มีอุปกรณ์ให้น้ำที่เพียงพอ และน้ำต้องสะอาด
2. อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการระบายอากาศเป็นปัจจัยที่สามารถลดความชื้นของพื้นโรงเรือนในระหว่างวัน โดยต้องรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ที่ระดับ 50-70%
a. ค่า %RH ต่ำกว่า 50% วัสดุรองพื้นแห้ง และเกิดฝุ่นสูง
b. ถ้าค่า %RH สูงกว่า 70% เป็นระยะเวลายาวนานในรอบวัน จะส่งผลให้วัสดุรองพื้นจับตัวเป็นก้อน
3. อาหารและคุณค่าของโภชนะ วัตถุดิบอาหารสัตว์ และโปรแกรมการให้อาหาร มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต ซึ่งความไม่สมดุลของอาหารหรือวัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพต่ำ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งต่อการเพิ่มปริมาณการกินน้ำของไก่
a. ระดับของโปรตีนและความสมดุลของกรดอะมิโน ให้เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ในแต่ละระยะ
b.กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง (NSP) แหล่งโปรตีนจากพืช จะเพิ่มความหนืดและ pH ในมูล ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อเท้าที่เป็นแผล
c. ปรับสมดุลของแร่ธาตุ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เนื่องจากระดับแร่ธาตุในอาหารสูงเกินความต้องการของไก่ ทำให้ไก่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น
d. ลักษณะทางกายภาพของอาหาร: อาหารผงจะเพิ่มปริมาณการกินน้ำมากกว่าอาหารเม็ด
4. สุขภาพสัตว์ ควรมีโปรแกรมวัคซีนและยาให้เหมาะสม
5.ความหนาแน่นของฝูงมาตรฐานความหนาแน่นของประชากรไก่เนื้อ คือ 34 kg/m2
6.ลดก๊าซแอมโมเนีย
a. การปรับระดับความสมดุลของโปรตีนและกรดอะมิโนให้เหมาะสมกับอายุไก่ในแต่ละระยะ มีผลทำให้ระดับปริมาณไนโตรเจนในวัสดุรองพื้นลดลง ซึ่งส่งผลให้ความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียลดลง
b. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อปริมาณก๊าซแอมโมเนียในวัสดุรองพื้น ได้แก่ ค่าความเป็นกรด - ด่าง ( pH ) ของวัสดุรองพื้น ถ้าสภาพของวัสดุรองอยู่ในสภาวะกรดเล็กน้อย จะช่วยลดจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายกรดยูริคในวัสดุรองพื้น ส่งผลต่อการระเหยของก๊าซแอมโมเนียในบรรยากาศลดลง
c. อุณหภูมิของวัสดุรองพื้นมีผลต่ออัตราการสลายตัวและการเคลื่อนย้ายก๊าซแอมโมเนียจากวัสดุรองพื้นไปสู่อากาศ การระเหยของก๊าซแอมโมเนียเพิ่มตามระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
d. การเติมซีโอไลท์ในอาหารร่วมกับการใช้ยากำจัดกลิ่นพ่นบริเวณวัสดุรองพื้น มีผลช่วยให้ปริมาณแอมโมเนียในวัสดุรองพื้นลดลง
e. การใช้สารปรับปรุงสภาพของวัสดุรองพื้น เช่น Ferrous sulfate , Aluminum sulfate (Alum) , Aluminum chloride, Alum + CaCO3 , Aluminum chloride + CaCO3 และ Essential oil + CaCO3 สามารถช่วยให้ปริมาณก๊าซแอมโมเนียในวัสดุรองพื้น
เดลต้าเซค (DELTASEC) ผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่จากธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง ถูกนำมาใช้เพื่อลดปริมาณความชื้น ก๊าซแอมโมเนีย ไล่แมลง และกำจัดเชื้อโรคในโรงเรือน เช่น ฟาร์มไก่เนื้อ เป็ด ไก่งวง สุกร และโค
DELTASEC ใช้อย่างไร ?
ใช้โรยลงบนวัสดุรองพื้น โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และคลุกตัวลูกสัตว์ เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการดูดซับของเหลว ซึ่งจะทำให้ประหยัดการใช้วัสดุรองพื้น และช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุรองพื้นให้ยาวนาน รายละเอียดผลิตภัณฑ์แสดงดังตารางที่ 1
คุณสมบัติและคุณประโยชน์ | ||
ส่วนประกอบ | วัตถุดิบจากธรรมชาติ (ปราศจากไดออกซินและ GMO) แร่ธาตุ สารหอมระเหย (ยูคาลิปตัส, การบูร) สาหร่ยทะเล และสารสกัดจากยัคคา (Yucca Schidigera) | |
ลักษณะผลิตภัณฑ์ | ผงสีขาว กลิ่นยูคาลิปตัส และการบูร | |
ความปลอดภัยสูง | มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ ปราศจากไดออกซิน ปราศจาก GMO สามารถใช้มือสัมผัสได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ตัก ไม่มีสารเคมี (สัตว์สามารถกินได้) | |
pH (ที่ความเข้มข้น 10% เมื่อเจือจางด้วยน้ำ) | 6.5 % | |
ความสามารถในการดูดซับของเหลว | 3,100 ml (310% ต่อน้ำาหนัก) หรือ DELTASEC 1 กิโลกรัม สามารถดูดซับของเหลวได้ 2 ลิตร ในเวลา 2 - 3 นาที | |
ลักษณะการจับตัวเมื่อสัมผสของเหลว | จับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ/ก้อนไม่เป็นโคลนลื่นเมื่อสัมผัสกับของเหลว สามารถทำความสะอาดได้ง่าย | |
ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ | น้ำมันระเหยช่วยไล่แมลงและยับยั้งแบคทีเรีย ได้แก่ - แบคทีเรียแกรมบวก เช่น Staphylococcus aureus, Micrococcus Luteus, Enterococcus Faecalis และ Clostridium difficile - แบคทีเรียแกรมลบ เช่น Escherichia coli, Salmonella typhimurium และ Pseudomonas spp. - แบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ Haemophylus influenza, Streptococcus pneumoniae และ Streptococcus pyogenes - เชื้อรา ** (ทดสอบแบบ in vitro โดย epidemiologic labs (ฝรั่งเศส) |
|
ประสิทธิภาพในลดแอมโมเนีย | สารสกัดยัคคา ช่วยลดก๊าซแอมโมเนีย ควบคุมอุณหภูมิของวัสดุรองพื้นให้ต่ำกว่า 30 ℃ | |
ขนาดบรรจุ | 25 กิโลกรัม | |
อายุการจัดเก็บ | 1 ปี |
การใช้ DELTASEC ในสัตว์ปีก?
ไก่งวง :40 กรัมต่อตารางเมตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2-10
เป็ด :40 กรัมต่อตารางเมตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2-10
- โรยบนสิ่งปูรอง : 50 กรัมต่อตารางเมตรทุกวัน ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ ที่ 12
- ในกรง : 30 กรัมต่อตารางเมตรทุกวัน ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ ที่ 12
การใช้ DELTASEC ในสุกรและโค ?
แม่สุกร : 50 กรัมต่อตารางเมตรในบริเวณที่จะคลอดลูก
ลูกสุกร: 70 กรัมต่อตารางเมตร สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง บริเวณที่นอนลูกสุกรหรือคลุกบนตัวลูกสุกรหลังคลอดเพื่อให้ตัวลูกสุกรแห้งเร็วขึ้น และลดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย (1 ถุง ใช้คลุกตัวลูกสุกรได้ 300 ตัว)
สุนัข/แมว : 50 กรัมต่อตารางเมตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
โคนม: ลดการปนเปื้อนแบคทีรีย และลดความเสี่ยงของโรคเต้านมอักเสบ
โรงเรือนโคนม: 300 กรัม/ตัว 3 ครั้ง/สัปดาห์ พื้นคอก130 กรัม/ตัว/วัน
ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ DELTASEC
1. ลดความชื้น
2. ลดการติดเชื้อและแพร่กระจายของเชื้อโรค
3. สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เนื่องจากก๊าซแอมโมเนียโนโรงเรือนลดลง
4. สัตว์มีสุขภาพดี
5. ปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ