(662) 964 4912-4

|

(662) 964 4915

|

menu_mobile Background Removed

(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
menu_mobile Background Removed

(662) 964 491-4

(662) 964 4915

menu_mobile Background Removed
DOG SHOW 2008
24/06/2008
โปรไบโอติก (PROBIOTICS)
18/03/2009
DOG SHOW 2008
24/06/2008
โปรไบโอติก (PROBIOTICS)
18/03/2009
 

โรคไข้หวัดสุกร (H1N1)

   โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุ มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกร คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ไทป์ A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยว มีเปลือกหุ้ม มีสารพันธุกรรมเป็นท่อนสั้นๆ จำนวน 8 ท่อน ไวรัสไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วยH1-16 และ N1-9 ในสุกรเฉพาะ H1N1,H3N2 และ H1N2 เนื่องจากสารพันธุกรรมเป็นชนิด RNA และมี 8 ท่อน จึงมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มาจากมนุษย์ สัตว์ปีก รวมทั้งสุกรได้ง่าย สุกรทำหน้าที่เป็นถัง  ผสม“mixing vessel”เนื่องจากสุกรมีตัวรับ(receptor) บนผิวเซลล์ที่เหมือนกับของคนและสัตว์ปีก ทำให้สุกรสามารถติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือสัตว์ปีกได้ จึงทำให้มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรได้สูง การเปลี่ยนแปลงของเชื้อเพียงเล็กน้อย เรียกว่า“Antigenic drift” การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมอย่างมากจนทำให้ได้ไวรัสชนิด H หรือ Nsubtype ใหม่ ที่เรียกว่า “Antigenic shift” จะได้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่สุกรไม่เคยพบมาก่อน ทำให้เกิดการระบาดของโรคกระจายเป็นวงกว้าง และสุกรแสดงอาการป่วยที่รุนแรง (pandemic)นอกจากนั้นอาจทำให้เกิดการติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่นๆ ได้ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด H1N1 และ H3N2 เริ่มมีรายงานการตรวจพบ H1N2 subtype ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะพบการระบาดแทนสายพันธุ์ H1N1 และ H3N2) 

SwineFlu002

 อาการ

สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วันมักไม่พบการตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูงเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory DiseaseComplex,PRDC)

 รอยโรค

พบการอักเสบ และเนื้อตาย ตลอดช่องทางเดินหายใจ มีเลือดคั่งในปอดและช่องทางเดิน หายใจ พบการเกิดเนื้อตายเป็นหย่อมๆ และถุงลมปอดแฟบเป็นบางส่วน

 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ

ตัวอย่างป้ายจมูก โดยเก็บจากสุกรที่เริ่มแสดงอาการป่วย ระยะมีไข้สูง น้ำมูกไหลซึ่งสามารถขอน้ำยาเก็บตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการ และเก็บตัวอย่างป้ายจมูกโดยการแช่เย็น แล้วรีบนำส่งภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากเชื้อตายง่าย สุกรป่วยมีชีวิต หรือซากที่ตายใหม่ๆ เก็บตัวอย่างป้ายหลอดลม และปอด

 การรักษา ป้องกัน และควบคุมการป้องกันโรค

1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรค Swine Influnza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส Avian Influenza และ
Swine Influenza
3. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจเข้าในคอกเลี้ยงสุกร
4. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวกไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไปและเสริมวิตามินในอาหาร ตลอดจนเข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม และเข้มงวดการเข้าออกจากฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ

 การควบคุมโรค

1. ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
2. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
3. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเชื้อไวรัส Influenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่นที่อุณหภูมิ 56 C นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60 C นาน 30 นาที) และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน Lipid solvents, Formalin, Beta-Propiolactone, Oxidizing Agents, Sodium Dodecylsulfate, Hydroxylamine, Ammonium Ions และ Iodine Compounds แต่เชื้อนี้สามารถคงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่าย เช่น น้ำมูก น้ำตา น้ำลายเสมหะ อุจจาระ และในแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ