
ความสำคัญของแร่ธาตุต่อการผลิตสัตว์
27/10/2015
TRYPSIN INHIBITOR กับการย่อยของสัตว์กระเพาะเดี่ยว
08/02/2016
ความสำคัญของแร่ธาตุต่อการผลิตสัตว์
27/10/2015
TRYPSIN INHIBITOR กับการย่อยของสัตว์กระเพาะเดี่ยว
08/02/2016คุณภาพ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
ผลิตภัณฑ์ยาคือสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่คุณภาพของยากลับถูก “ละไว้ในฐานที่เข้าใจ” โดยคิดว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์กับประสิทธิภาพในการรักษาเป็นเรื่องเดียวกัน และเลือกที่จะหยิบยกเอาเรื่องประสิทธิภาพในการรักษามาเป็นประเด็นหลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยมองข้ามคุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ไป
ซึ่งถ้าลงไปในรายละเอียดของทั้งสองเรื่องนี้จะพบว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นเราสามารถจับต้องได้ ตรวจสอบได้ และวัดค่าออกมาตัวเลขเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลได้ ในทางกลับกันประสิทธิภาพในการรักษา การตรวจสอบ การวัดค่าและการแปลผล กลับมีความแม่นยำในระดับที่ต่ำเพราะมีตัวแปรที่มากมายที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สุขภาพของสัตว์ที่ป่วยแต่ละตัวก็ไม่เหมือนกัน ปริมาณยาที่ได้รับแต่ละตัวก็ไม่เท่ากัน ความไวของเชื้อโรคกับยาก็แตกต่างกันในแต่ละฟาร์มและที่สำคัญคือความเร็วหรือช้าในการวินิจฉัยโรคและความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค เป็นต้น
ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่เป็นตัวแปรที่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ท้ายที่สุดผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ”
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ | ประสิทธิภาพในการรักษา | |
ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ | ผลิตภัณฑ์ | ผู้บริโภค |
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ | เครื่องมือวิทยาศาสตร์ | การสอบถามและสังเกต |
วิธีทดสอบ | เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ทั่วโลก | ขึ้นกับวิธีการที่ผู้ทดสอบออกแบบ |
ค่าที่วัดได้ | ตัวเลขและสามารถคำนวนได้ | เป็นช่วงคะแนน หรือ เป็นระดับ เช่น หาย, คงที่, แย่กว่าเดิม |
เกณฑ์การทดสอบ (ผ่านหรือไม่ผ่าน) | ตัวเลขที่อ้างอิงตามมาตรฐานสากล | ขึ้นกับเกณฑ์ที่ผู้ทดสอบกำหนด |
ตัวแปรที่ทำให้ผลการทดสอบคาดเคลื่อน | 1.เครื่องมือวิเคราะห์มีความละเอียดไม่พอ 2.สารช่วยในการผลิตภัณฑ์รบกวนการวิเคราะห์ |
1.จำนวนตัวอย่าง 2.การออกแบบการทดลอง 3.การควบคุมตัวแปร 4.เกณฑ์การวัดประเมินผล |
ตารางเปรียบเทียบ หลักเกณฑ์ในการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพในการรักษา |
ประสิทธิภาพในการรักษา | ||||
คุณภาพผลิตภัณฑ์ | รักษาหาย | รักษาไม่หาย | ||
มีคุณภาพ | Target | False negative | ||
ไม่มีคุณภาพ | False positive | Out of specification | ||
Matrix diagram :คุณภาพผลิตภัณฑ์และประสิทธิกาพในการรักษา |
FALSE NEGATIVE = ยาที่มีคุณภาพ แต่ถูกละเลยเพราะเชื่อว่าไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา
FALSE POSITIVE = ยาที่ไม่มีคุณภาพ แต่มีประสิทธิภาพในการรักษา เช่นยาปลอม, ยาไม่มีทะเบียนผลิต ยาที่ผลิตในสถานที่ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
จากตารางเปรียบเทียบและ Matrix diagram ข้างต้น จะเห็นได้ว่า การนำเอาประสิทธิภาพในการรักษามาใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์มากกว่า 2 ชนิดจะเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากไม่มีมาตรฐานและไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ ดังนั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์จึงเป็นปราการด่านแรกที่จะใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และเมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแล้วแต่ผลการรักษายังไม่ได้ตามที่คาดหวัง สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปคือ ปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพต้องเป็นอย่างไร
1.มีปริมาณตัวยาสำคัญครบตามที่ระบุไว้ในฉลากยา : ปริมาณตัวยาสำคัญโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง + 10% ของปริมาณที่ระบุในฉลาก ดังนั้นผู้ซื้อจึงมีโอกาสที่จะได้รับปริมาณตัวยาสำคัญเพียงแค่ 90% ของปริมาณที่ระบุในฉลาก โดยไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบปริมาณตัวยาสำคัญเบื้องต้นได้ในเอกสาร Certificate of Analysis (COA)ซึ่งสามารถขอเอกสารนี้กับผู้ขายได้ทุกราย
2.มีความสม่ำเสมอ และ มีความคงตัว : ในการศึกษาความสม่ำเสมอและความคงตัวของผลิตภัณฑ์จะต้องใช้มีห้องปฎิบัติการ, เครื่องมือวิเคราะห์และบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้นในการซื้อเคมีไปผสมใช้เองหรือเลือกใช้ยาปลอม, ยาเถื่อน ก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
3.สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อพบปัญหาหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด: ทุกกระบวนการที่เกิดขึ้นในโรงงานผลิต เริ่มตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเก็บ การเบิกจ่าย การผลิต การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและวัสดุบรรจุก่อนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต การตรวจสอบคุณภาพก่อนปล่อยผ่านผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดส่งและกระจายสินค้า สามารถจะตรวจสอบกลับได้ทั้งหมดเพราะทุกกระบวนการมีการจดบันทึกและเก็บไว้เป็นหลักฐานจนครบอายุยา
4.มีมาตรฐานในการผลิตและมาตรฐานการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในระดับสากล : มาตรฐานสูงสุดของการผลิตยาคือ GMP PIC/S และมาตรฐานสูงสุดของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์(มาตรฐานห้องปฎิบัติการ) คือISO/IEC 17025 ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อโรงงานที่ได้รับรองได้ในเวปไซต์ของสถาบันที่ให้การรับรอง
จะเห็นได้ว่า ห้องปฎิบัติการถือเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการไปเยี่ยมชมโรงงานเพื่อดูความพร้อมและความสามารถของห้องปฎิบัติการก็จะเป็นข้อมูลที่สำคัญประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
เจาะลึกความพร้อมและความสามารถของห้องปฎิบัติการ
เมื่อมีงบประมาณที่จำกัด การลงทุนในส่วนของห้องปฏิบัติการมักจะเป็นตัวเลือกท้ายๆหรืออยู่ในแผนระยะยาว เพราะการลงทุนในส่วนนี้ใช้งบประมาณสูงและไม่ได้ทำให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น แต่เป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หรือนักวิเคราะห์ ก็ต้องสอดคล้องกับปริมาณงานเพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพครบทุกขั้นตอนตามที่กำหนด ดังนั้นความพร้อมและความสามารถของห้องปฎิบัติการก็จะพิจารณาได้จาก
1.ความสอดคล้องระหว่างไลน์การผลิตและเครื่องมือวิเคราะห์ : : แน่นอนว่าถ้ามีไลน์การผลิต 10 ไลน์และทุกไลน์ผลิตพร้อมๆกันทั้งหมด การต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์ที่เพียงพอต่อการทดสอบ เพราะในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอีกด้วย นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงปริมาณงานในแต่ละไลน์การผลิตด้วย เพราะหากมีการผลิตมากจำนวนตัวอย่างก็จะมากตามไปด้วย
2.ความสอดคล้องระหว่างจำนวนนักวิเคราะห์กับจำนวนตัวอย่างที่ส่งทดสอบ : จำนวนนักวิเคราะห์จะต้องเหมาะสมกับจำนวนตัวอย่างที่ส่งทดสอบเพื่อให้การรายงานผลเป็นไปตามเวลาที่กำหนด
3.ความสอดคล้องระหว่างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์กับความหลากหลายของเครื่องมือวิเคราะห์ : การผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบ หลายชนิด ห้องปฏิบัติก็จะต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์ที่ใช้ทดสอบได้ครบทุกผลิตภัณฑ์ที่ผลิต เช่น การผลิตยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ(antibiotic)จะต้องมีห้องปฎิบัติการทางด้านจุลชีววิทยาในการทดสอบกับเชื้อก่อโรค หรือ ในการตรวจสอบความปราศจากเชื้อในยาฉีด ก็จะต้องทำการทดสอบภายใต้ Laminar air flow ในห้องสะอาด (Cleanroom) เป็นต้น
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากต่อการตัดสินใจอีกต่อไป หากเริ่มต้นที่คำว่า คุณภาพ และ “ไม่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ”