การเลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อน การจัดการเรื่องการระบายอากาศ น้ำ อาหาร วัสดุรองพื้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มักพบในช่วงหน้าร้อน เช่น โรคอหิวาต์สัตว์เป็ด ไก่ โรคที่เกิดจากสารพิษจากเชื้อราในอาหาร และโรคบิด
โรคบิด (Coccidiosis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตชัวเซลล์เดียวในสกุลของอัยเมอเรีย (Eimeria spp.) เป็นโรคที่มีผลโดยตรงต่อลำไส้ เพราะเชื้ออัยเมอเรียจะทำลายเยื่อเมือกของลำไส้ ทำให้ลำไส้อักเสบ ท้องเสียหรือถ่ายเป็นมูก หรือเลือด ในไก่เนื้อมักพบระหว่างอายุ 3-6 สัปดาห์ ในไก่ไข่พบระหว่างเป็นไก่รุ่นและไก่สาว หรืออาจพบในระยะแรก ภายหลังย้ายขึ้นกรง ซึ่งวิการของโรคจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน หรือวัสดุรองพื้นมีความชื้นเหมาะสม
เชื้อบิดในสกุลอัยเมอเรียมีหลายชนิด ปัจจุบันชนิดที่พบและมีความสำคัญในไก่มี 7 ชนิด และมีอยู่ 2 ชนิด ที่ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรง และทำให้ไก่ตายมาก คือ อัยเมอเรีย เนคาทริกซ์ (E. necatrix) และเชื้ออัยเมอเรีย เทเนลลา (E. tenella) เชื้อที่มีความรุนแรงรองลงมา คือ อัยเมอเรีย แม็กซิมา (E.maxima) และเชื้อบิดที่พบได้บ่อยแต่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรง คือ อัยเมอเรีย อะเซอร์วูลินา (E.acervulina) และอาจมีการติดเชื้ออัยเมอเรียมากว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เชื้ออัยเมอเรียมีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ เช่น เชื้ออัยเมอเรีย ที่ทำให้เกิดโรคในไก่จะไม่ก่อโรคในสัตว์ปีกอื่นๆ และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคน
ตารางที่ 1 แสดงชนิดของเชื้อบิดในสัตว์ปีก | ||
---|---|---|
ชนิดของเชื้อบิดในไก่เนื้อ | ชนิดของเชื้อบิดในไก่งวง | ชนิดของเชื้อบิดในห่าน |
E. acervulina, E. maxima, E. tenella, E. necatrix, E.mitis, E. brunetti E. praecox |
E.adenoeides, E. meleagrimitis, E. gallopavonis, E. dispersa |
E. anseris, E. truncata |
วงจรชีวิตของเชื้อบิด: ระยะฟักตัวของเชื้อบิดที่เจริญในลำไส้ไก่ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเพียง 4-7 วัน
ไก่ได้รับไข่ของเชื้อบิด (Oocyst)![]() ![]() ฝังตัวในเซลล์เยื่อเมือกของผนังลำไส้เพื่อเจริญไปเป็นโทรโฟซอยด์ นิวเคลียสของโทรโฟซอยด์เซลล์จะแบ่งตัวแบบทวีคูณ แบบไม่อาศัยเพศ เมอโรซอยด์ (Merozoite) แกมีโตไซต์ (gametophyte) |
![]() ภาพที่ 1 แสดงวงจรชีวิตของเชื้อบิด (Price and Barta, 2010) ![]() ลักษณะอาการป่วย : ขนยุ่ง หงอยซึม
|
รอยโรคที่ลำไส้ | |
---|---|
ชนิดเชื้อก่อโรค | รอยโรค / วิการของโรค |
E. acervulina | ลำไส้เล็กส่วนต้น เยื่อเมือกมีลักษณะเป็นทางสีขาวตามแนวขวางของลำไส้ คล้ายขั้นบันไดและผนังลำไส้หนาตัวขึ้น |
E. tenella | ไส้ตัน ไส้ตันขยายใหญ่ หนาตัวขึ้น บวมน้ำ และเลือดออก มีเศษเลือดและเนื้อตายอยู่ภายใน |
E. necatrix | ลำไส้ส่วนกลาง ลำไส้ขยายใหญ่และหนาขึ้น ภายในมีจุดเนื้อตายสีขาว เนื่องจากเยื่อเมือกของลำไส้หลุดลอก และจุดเลือดออกกระจายอยู่ทั่วไป |
E. maxima | ลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้พองและหนาตัว เนื่องจากมีเลือดคั่งและบวมน้ำ ของเหลวในลำไส้มีสีส้มหรือสีชมพู อาการของโรคไม่ชัดเจนและรุนแรงเท่า อี. เนคาทริกซ์ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
E. acervulina | E. tenella | E. maxima | E. necatrix | E. brunetti |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ภาพที่ 2 แสดงรอยโรคของเชื้อบิดแต่ละชนิด ที่มา: http://www.merckmanuals.com http://www.uoguelph.ca |
แนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคบิด
โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ ไก่อยู่สบาย มีระบบระบายอากาศที่ดี รวมทั้งจัดการระบบให้อาหารและน้ำแบบอัตโนมัติไม่ให้หกหล่นลงสู่วัสดุรองพื้นหรือแกลบ และต้องดูแลวัสดุรองพื้นให้แห้งอยู่สม่ำเสมอ หรือเปลี่ยนวัสดุรองพื้นเมื่อเปียกชื้นมาก ซึ่งระดับความชื้นที่เหมาะสมของวัสดุรองพื้นต้องไม่เกิน 40% เพื่อไม่ก่อให้เกิดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการคงตัวอยู่ของโอโอซิสต์ และเจริญเป็นโอโอซิสต์ตัวแก่และก่อโรค
แนวทางป้องกัน
การป้องกันโดยการใช้วัคซีนเชื้อเป็นกำลังเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ใช้อย่างแพร่หลายในไก่พันธุ์ และเริ่มมีใช้บางในไก่ไข่และไก่เนื้อ เมื่อการใช้ยากันบิดผสมในอาหารไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมโรค สาเหตุเนื่องจากไก่ป่วยจะกินอาหารลดลง ทำให้ได้รับยาต้านบิดต่ำกว่าปริมาณที่สามารถควบคุมและกำจัดโรคได้ ชนิดของยาป้องกันโรคบิดในอาหาร มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น Ionophores (Monensin, Narasin, Salinamycin, Lasalocid, Maduramicin) Quinolones, Sulfonamides, Thiamine derivatives เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันโดยการใช้วัคซีนและยาผสมอาหารก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังแสดงในตารางที่ 2 และ 3
แนวทางการรักษา
การรักษาโรคบิดต้องเริ่มตั้งแต่ไก่เริ่มป่วยจึงจะได้ผลดี โดยการให้ยาปฏิชีวนะ ให้โดยการละลายน้ำ ปฏิบัติไปพร้อมๆ กับการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานภายในฟาร์มที่ดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค หรือโอโอซิสต์ของเชื้อบิด
ตารางที่ 2 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้วัคซีน | |
---|---|
ข้อดีของการให้วัคซีน | ข้อเสียของการใช้วัคซีน |
- ไม่ต้องมีระยะหยุดยา - ไม่มีสารตกค้าง - สะดวกต่อการใช้ เพราะสามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น ละลายน้ำ หยอดตา หยอดปาก หรือพ่นเป็นละออง เข้าตา เป็นต้น -ใช้ทดแทนเมื่อใช้ยาต้านบิด ในกรณีที่เชื้อเกิดการดื้อยา |
- วัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้ออัยเมอเรียชนิดที่มีวัคซีนเท่านั้น - ต้องเป็นวัคซีนชนิดแรง จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี - มีราคาสูงกว่ายา - การใช้วัคซีนจะไม่ได้ผลดี เมื่อให้ร่วมกับอาหารสำเร็จรูปที่มีการผสมยาต้านบิด |
ตารางที่ 3 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้ยาปฏิชีวนะ | |
---|---|
ข้อดีของการให้วัคซีน | ข้อเสียของการใช้วัคซีน |
- ยา 1 ชนิด สามารถป้องกันเชื้อบิดได้หลายชนิด - สะดวกต่อการใช้ เนื่องจากยาถูกผสมในอาหารสำเร็จรูป |
- ต้องมีระยะหยุดยา เพราะยาหลายชนิด อาจก่อให้เกิดปัญหาของสารตกค้าง - การใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันนานๆ ผลทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ - ยาต้านบิดและยาปฏิชีวนะบางชนิดให้ร่วมกันไม่ได้ - ยาป้องกันโรคบิดหลายชนิดมีความเป็นพิษต่อสัตว์ชนิดอื่น |
จากข้อมูลในข้างต้นต้องพิจารณาถึงความจำเป็น และพื้นฐานของแต่ละฟาร์มในการเลือกใช้ยาหรือวัคซีนในการรักษาและป้องกันโรค แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ยากันบิดได้ลดน้อยลงไป และอาจมีการห้ามยาทุกชนิดผสมอาหารในอนาคต
วิธีการผสมยาในน้ำให้ไก่กิน เป็นวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและให้ผลต่อการรักษาโรคบิดได้ดี ชนิดของยากันบิดที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น ตัวยาโทลทราซูริล (ค็อกซ์ซูริล 2.5%) และยาแอมโปรเลียม เป็นต้น
ตัวยา | สินค้า | ขนาดและวิธีการใช้ | ระยะหยุดยา |
โทลทราซูริล | ค็อกซ์ซูริล 2.5% | ขนาดการใช้ยา Toltrazuril 7 มก./นน.สัตว์ 1 กก. - Coxzuril 2.5%, 1 ฝา (15 ซีซี)/น้ำ 15 ลิตร ให้กินวันละ 24 ชั่วโมงติดต่อกัน 2 วัน - Coxzuril 2.5%, 1 ฝา (15 ซีซี)/น้ำ 5 ลิตร ให้กินวันละ 8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2 วัน |
21 วัน |
แอมโพรเลียม | แอมโพรฟาร์ 20% | ใช้ ยาแอมโพรฟาร์ 20%, 60-120 กรัม/น้ำ 100 ลิตร (0.012%-0.024%) ติดต่อกัน 3-5 วัน หลังจากนั้นใช้แอมโพรฟาร์ 20%, 60 กรัม/น้ำ 200 ลิตร (0.006%) ติดต่อกันอีก 7-14 วัน |
ไม่มีระยะหยุดยา |