Loading...

ARTICLE

บทความโดย:ฝ่ายวิชาการ บริษัท บิ๊ค เคมิคอล จำกัด
โรคระบาดในไก่ในช่วงฤดูร้อนที่ควรพึงระวัง

   ไก่พันธุกรรมดี สุขภาพดี FCR ดี น้ำหนักดี และ ขายได้ผลกำไรสูง นั้นคือ เป้าหมายของการเลี้ยงไก่ ซึ่งการเลี้ยงไก่ ณ ปัจจุบันนับได้ว่าพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม อาหาร และระบบการเลี้ยงไก่ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรือนระบบปิด (EVAP) รวมทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงที่ทันสมัยมากขึ้น ในการจัดการฟาร์มเป็นระบบและมีขนาดใหญ่มากขึ้น ต้องควบคู่ไปกับการจัดการฟาร์ม และการสุขาภิบาลที่ดีด้วยเพราะการดูแลและการจัดการที่เหมือนเดิมไม่ใช่บทสรุป ที่บ่งชี้ว่าผลการเลี้ยงจะเหมือนเดิมในทุกๆ รุ่น อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากคือ สภาพแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเลี้ยงและผลผลิตที่จะได้รับ ดังนั้น การป้องกันโรคเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

   การเลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อน การจัดการเรื่องการระบายอากาศ น้ำ อาหาร วัสดุรองพื้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มักพบในช่วงหน้าร้อน เช่น โรคอหิวาต์สัตว์เป็ด ไก่ โรคที่เกิดจากสารพิษจากเชื้อราในอาหาร และโรคบิด

   โรคบิด (Coccidiosis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตชัวเซลล์เดียวในสกุลของอัยเมอเรีย (Eimeria spp.) เป็นโรคที่มีผลโดยตรงต่อลำไส้ เพราะเชื้ออัยเมอเรียจะทำลายเยื่อเมือกของลำไส้ ทำให้ลำไส้อักเสบ ท้องเสียหรือถ่ายเป็นมูก หรือเลือด ในไก่เนื้อมักพบระหว่างอายุ 3-6 สัปดาห์ ในไก่ไข่พบระหว่างเป็นไก่รุ่นและไก่สาว หรืออาจพบในระยะแรก ภายหลังย้ายขึ้นกรง ซึ่งวิการของโรคจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน หรือวัสดุรองพื้นมีความชื้นเหมาะสม

   เชื้อบิดในสกุลอัยเมอเรียมีหลายชนิด ปัจจุบันชนิดที่พบและมีความสำคัญในไก่มี 7 ชนิด และมีอยู่ 2 ชนิด ที่ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรง และทำให้ไก่ตายมาก คือ อัยเมอเรีย เนคาทริกซ์ (E. necatrix) และเชื้ออัยเมอเรีย เทเนลลา (E. tenella) เชื้อที่มีความรุนแรงรองลงมา คือ อัยเมอเรีย แม็กซิมา (E.maxima) และเชื้อบิดที่พบได้บ่อยแต่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรง คือ อัยเมอเรีย อะเซอร์วูลินา (E.acervulina) และอาจมีการติดเชื้ออัยเมอเรียมากว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เชื้ออัยเมอเรียมีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ เช่น เชื้ออัยเมอเรีย ที่ทำให้เกิดโรคในไก่จะไม่ก่อโรคในสัตว์ปีกอื่นๆ และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคน

ตารางที่ 1 แสดงชนิดของเชื้อบิดในสัตว์ปีก
ชนิดของเชื้อบิดในไก่เนื้อ ชนิดของเชื้อบิดในไก่งวง ชนิดของเชื้อบิดในห่าน
E. acervulina, E. maxima, E. tenella,
E. necatrix, E.mitis, E. brunetti
E. praecox
E.adenoeides, E. meleagrimitis,
E. gallopavonis, E. dispersa
E. anseris, E. truncata

วงจรชีวิตของเชื้อบิด: ระยะฟักตัวของเชื้อบิดที่เจริญในลำไส้ไก่ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเพียง 4-7 วัน

ไก่ได้รับไข่ของเชื้อบิด (Oocyst)
arrow_downกรดในกระเพาะ/น้ำดี ย่อยผนังไข่ของเชื้อบิดให้แตก

ปล่อยสปอโรซอยด์ (Sporozoite) ที่ก่อโรค
arrow_down

ฝังตัวในเซลล์เยื่อเมือกของผนังลำไส้เพื่อเจริญไปเป็นโทรโฟซอยด์
arrow_down

นิวเคลียสของโทรโฟซอยด์เซลล์จะแบ่งตัวแบบทวีคูณ แบบไม่อาศัยเพศ
arrow_down

เมอโรซอยด์ (Merozoite)
arrow_down

แกมีโตไซต์ (gametophyte) arrow_right ไข่ของเชื้อบิด (Oocyst)

001
ภาพที่ 1 แสดงวงจรชีวิตของเชื้อบิด (Price and Barta, 2010)

001
ลักษณะอาการป่วย : ขนยุ่ง หงอยซึม

001
ลักษณะอาการป่วย : ไก่ถ่ายเป็นมูก หรือเลือด

001
ลักษณะอาการป่วย : ซากไก่ซีด เนื่องจากเสียเลือด หรือลำไส้มีการดูดซึมผิดปกติ

รอยโรคที่ลำไส้
ชนิดเชื้อก่อโรค รอยโรค / วิการของโรค
E. acervulina ลำไส้เล็กส่วนต้น เยื่อเมือกมีลักษณะเป็นทางสีขาวตามแนวขวางของลำไส้ คล้ายขั้นบันไดและผนังลำไส้หนาตัวขึ้น
E. tenella ไส้ตัน ไส้ตันขยายใหญ่ หนาตัวขึ้น บวมน้ำ และเลือดออก มีเศษเลือดและเนื้อตายอยู่ภายใน
E. necatrix ลำไส้ส่วนกลาง ลำไส้ขยายใหญ่และหนาขึ้น ภายในมีจุดเนื้อตายสีขาว เนื่องจากเยื่อเมือกของลำไส้หลุดลอก และจุดเลือดออกกระจายอยู่ทั่วไป
E. maxima ลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้พองและหนาตัว เนื่องจากมีเลือดคั่งและบวมน้ำ ของเหลวในลำไส้มีสีส้มหรือสีชมพู อาการของโรคไม่ชัดเจนและรุนแรงเท่า อี. เนคาทริกซ์
005 005 005 005 005
E. acervulina E. tenella E. maxima E. necatrix E. brunetti
005 005 005 005 005
ภาพที่ 2 แสดงรอยโรคของเชื้อบิดแต่ละชนิด ที่มา:
http://www.merckmanuals.com
http://www.uoguelph.ca

แนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคบิด

โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ ไก่อยู่สบาย มีระบบระบายอากาศที่ดี รวมทั้งจัดการระบบให้อาหารและน้ำแบบอัตโนมัติไม่ให้หกหล่นลงสู่วัสดุรองพื้นหรือแกลบ และต้องดูแลวัสดุรองพื้นให้แห้งอยู่สม่ำเสมอ หรือเปลี่ยนวัสดุรองพื้นเมื่อเปียกชื้นมาก ซึ่งระดับความชื้นที่เหมาะสมของวัสดุรองพื้นต้องไม่เกิน 40% เพื่อไม่ก่อให้เกิดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการคงตัวอยู่ของโอโอซิสต์ และเจริญเป็นโอโอซิสต์ตัวแก่และก่อโรค

แนวทางป้องกัน

การป้องกันโดยการใช้วัคซีนเชื้อเป็นกำลังเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ใช้อย่างแพร่หลายในไก่พันธุ์ และเริ่มมีใช้บางในไก่ไข่และไก่เนื้อ เมื่อการใช้ยากันบิดผสมในอาหารไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมโรค สาเหตุเนื่องจากไก่ป่วยจะกินอาหารลดลง ทำให้ได้รับยาต้านบิดต่ำกว่าปริมาณที่สามารถควบคุมและกำจัดโรคได้ ชนิดของยาป้องกันโรคบิดในอาหาร มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น Ionophores (Monensin, Narasin, Salinamycin, Lasalocid, Maduramicin) Quinolones, Sulfonamides, Thiamine derivatives เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันโดยการใช้วัคซีนและยาผสมอาหารก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังแสดงในตารางที่ 2 และ 3

แนวทางการรักษา

การรักษาโรคบิดต้องเริ่มตั้งแต่ไก่เริ่มป่วยจึงจะได้ผลดี โดยการให้ยาปฏิชีวนะ ให้โดยการละลายน้ำ ปฏิบัติไปพร้อมๆ กับการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานภายในฟาร์มที่ดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค หรือโอโอซิสต์ของเชื้อบิด

ตารางที่ 2 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้วัคซีน
ข้อดีของการให้วัคซีน ข้อเสียของการใช้วัคซีน
- ไม่ต้องมีระยะหยุดยา
- ไม่มีสารตกค้าง
- สะดวกต่อการใช้ เพราะสามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น ละลายน้ำ หยอดตา หยอดปาก หรือพ่นเป็นละออง เข้าตา เป็นต้น
-ใช้ทดแทนเมื่อใช้ยาต้านบิด ในกรณีที่เชื้อเกิดการดื้อยา
- วัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้ออัยเมอเรียชนิดที่มีวัคซีนเท่านั้น
- ต้องเป็นวัคซีนชนิดแรง จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
- มีราคาสูงกว่ายา
- การใช้วัคซีนจะไม่ได้ผลดี เมื่อให้ร่วมกับอาหารสำเร็จรูปที่มีการผสมยาต้านบิด
ตารางที่ 3 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้ยาปฏิชีวนะ
ข้อดีของการให้วัคซีน ข้อเสียของการใช้วัคซีน
- ยา 1 ชนิด สามารถป้องกันเชื้อบิดได้หลายชนิด
- สะดวกต่อการใช้ เนื่องจากยาถูกผสมในอาหารสำเร็จรูป
- ต้องมีระยะหยุดยา เพราะยาหลายชนิด อาจก่อให้เกิดปัญหาของสารตกค้าง
- การใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันนานๆ ผลทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้
- ยาต้านบิดและยาปฏิชีวนะบางชนิดให้ร่วมกันไม่ได้
- ยาป้องกันโรคบิดหลายชนิดมีความเป็นพิษต่อสัตว์ชนิดอื่น

จากข้อมูลในข้างต้นต้องพิจารณาถึงความจำเป็น และพื้นฐานของแต่ละฟาร์มในการเลือกใช้ยาหรือวัคซีนในการรักษาและป้องกันโรค แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ยากันบิดได้ลดน้อยลงไป และอาจมีการห้ามยาทุกชนิดผสมอาหารในอนาคต

วิธีการผสมยาในน้ำให้ไก่กิน เป็นวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและให้ผลต่อการรักษาโรคบิดได้ดี ชนิดของยากันบิดที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น ตัวยาโทลทราซูริล (ค็อกซ์ซูริล 2.5%) และยาแอมโปรเลียม เป็นต้น

ตัวยา สินค้า ขนาดและวิธีการใช้ ระยะหยุดยา
โทลทราซูริล ค็อกซ์ซูริล 2.5% ขนาดการใช้ยา Toltrazuril 7 มก./นน.สัตว์ 1 กก.
- Coxzuril 2.5%, 1 ฝา (15 ซีซี)/น้ำ 15 ลิตร ให้กินวันละ 24 ชั่วโมงติดต่อกัน 2 วัน
- Coxzuril 2.5%, 1 ฝา (15 ซีซี)/น้ำ 5 ลิตร ให้กินวันละ 8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 2 วัน
21 วัน
แอมโพรเลียม แอมโพรฟาร์ 20% ใช้ ยาแอมโพรฟาร์ 20%, 60-120 กรัม/น้ำ 100 ลิตร
(0.012%-0.024%) ติดต่อกัน 3-5 วัน
หลังจากนั้นใช้แอมโพรฟาร์ 20%, 60 กรัม/น้ำ 200 ลิตร (0.006%)
ติดต่อกันอีก 7-14 วัน
ไม่มีระยะหยุดยา

เอกสารอ้างอิง

จิโรจ ศศิปรียจันทร์. 2553. โรคสำคัญในไก่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด. หน้า 177-183.
เอกสารออนไลน์ [ออนไลน์]. 2557.
http://www.merckmanuals.com
เอกสารออนไลน์ [ออนไลน์]. 2557.
http://www.uoguelph.ca
Price, K. and Barta, J. R. 2010. Immunological control of coccidiosis in poultry. Studies by Undergraduate Researchers at
Guelph Vol. 4, No. 1, 101-108.